AMINOLEBAN-ORAL อะมิโนเลแบน-ออราล 450 กรัม

https://punsuk.com/2869-6269-thickbox_default/gen-dm-vanilla-450-.jpg ดูรูปขนาดจริง

AMINOLEBAN-ORAL อะมิโนเลแบน-ออราล 450กรัม

มีสารอาหารครบถ้วนใช้สำหรับเสริมปริมาณสารอาหาร Aminoleban อะมิโนเลแบน AMINOLEBAN-ORAL อาหารทางการแพทย์ ชนิดโภชนาการครบถ้วน (ใช้ตามคำแนะนำของแพทย์) เป็นสูตรอาหาร ที่มีปริมาณกรดอะมิโนชนิดกิ่งสูง มีปริมาณกรดอะมิโนชนิดวงต่ำ ใช้สำหรับเสริมปริมาณสารอาหาร ส่วนประกอบที่สำคัญโดยประมาณ เด็กซ์ตริน 58.0%,เจลาติน ไฮโดรไลเสท 13%,กรดอะมิโน13%,น้ำมันรำข้าว 7%,เกลือแร่ 2.267%,วิตามิน0.138%,แต่งกลิ่นเลียนธรรมชาติ วิธีใช้โดยการดื่ม(Supplement)หรือให้ทางสายให้อาหาร(Tube Feeding) AMINOLEBAN-ORAL 1กระป๋อง(450กรัม)ให้โปรตีน121.5กรัม และให้พลังงาน1890กิโลแคลอรี่ #ตับ #บํารุงตับ

รายละเอียดเพิ่มเติม

ราคาปันสุข 575 บาท

ราคาลดลง!

ประหยัด

-25 บาท

ราคาร้านขายยา 600 บาท


AMINOLEBAN-ORAL อะมิโนเลแบน-ออราล 450กรัม

AMINOLEBAN-ORAL อะมิโนเลแบน-ออราล 400 กรัม

AMINOLEBAN-ORAL อะมิโนเลแบน-ออราล 400 กรัม

AMINOLEBAN-ORAL อะมิโนเลแบน-ออราล 400 กรัม

อะมิโนเลแบน-ออราล

อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยโรคตับ สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ

วิธีการใช้

วิธีเตรียม

ใช้ผงอะมิโนเลแบน-ออราล 50 กรัม (ประมาณ 5 ช้อนตวง) ละลายในน้ำอุ่น (ประมาณ 50 ° ซ) 180 มล. คนให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน หรือใช้เครื่องปั่น  หรือเขย่าในภาชนะปิดสนิท จะได้ปริมาตรประมาณ 200 มล.ซึ่งจะให้พลังงานประมาณ 210 กิโลแคลอรี่ (ออสโมลาริตี้ 600mOsm/L)  อะมิโนเลแบน-ออราล 1 กระป๋อง 450 กรัม จะผสมได้ 9 ครั้ง สามารถเติมน้ำหวานเพื่อแต่งรสชาติได้ แต่ไม่ควรผสมกับสารอื่นที่มีฤทธิ์เป็นกรด  เช่นน้ำผลไม้รสเปรี้ยว  เป็นต้น

วิธีใช้

โดยการดื่มเสริมหรือให้ทางสายอาหาร (Tube Feeding) วันละ 3 ครั้ง (150กรัมต่อวัน) ระหว่างมื้ออาหารและก่อนนอน เมื่อผสมแล้วควรใช้หรือดื่มทันที

ข้อควรระวัง

หากมีความจำเป็นต้องเตรียมไว้คราวเดียวกันหลายๆมื้อต้องเก็บไว้ในตู้เย็นและใช้ให้หมดภายใน 24 ชั่วโมง เมื่อตั้งทิ้งไว้ระยะหนึ่งอาจเกิดการแยกชั้นได้ ก่อนนำมาใช้ควรเขย่าหรือคนให้เป็นเนื้อเดียวกันก่อน

การเก็บรักษา

เมื่อยังไม่ได้เปิดกระป๋องใช้ ควรเก็บไว้ในที่แห้งและเย็น (ไม่เกิน 30° ซ) และเก็บให้พ้นแสง เมื่อเปิดกระป๋องแล้วควรปิดฝากระป๋องให้แน่นทุกครั้งหลังการใช้ เก็บไว้ในที่แห้งและเย็น (ไม่เกิน 30° ซ)

*อาหารทางการแพทย์ใช้ตามคำแนะนำของแพทย์*

ให้สารอาหารดังต่อไปนี้

 

สารอาหารต่อ 100

 

กิโลแคลอรี่

ต่อปริมาตร200 มล.ปริมาณสารอาหารใน 200 มล.เปรียบเทียบเป็น%กับ WHO RNI*

 

 

พลังงาน, กิโลแคลอรี่100210**
โปรตีน, กรัม6.413.527
คาร์โบไฮเดรต, กรัม15.432.4**
ไขมัน, กรัม1.73.5**
กรดอะมิโน   
วาลีน, กรัม0.781.635104.8
ลิวซีน, กรัม0.972.0386.8
ไอโซลิวซีน, กรัม0.841.76146.7
ทรีโอนีน, กรัม0.140.2932.2
ทริปโตเฟน, กรัม0.040.0833.3
เมไธโอนีน, กรัม0.030.0610.0
เฟนิลอะลานีน, กรัม0.080.16**
อะลานีน, กรัม0.310.655**
อาร์จินีน, กรัม0.330.695**
ฮิสทีดีน, กรัม0.110.23539.2
โพรลีน, กรัม0.470.98**
เซอรีน, กรัม0.100.215**
ไทโรซีน, กรัม0.020.04**
แอสพาติค, กรัม0.200.43**
กลูตามิก, กรัม0.410.855**
ไกลซีน, กรัม0.801.68**
คาร์นีทีน, มิลลิกรัม11.025**
วิตามิน   
วิตามินเอ, ไมโครกรัม66.57139.8023.3-28.0
วิตามินดี, ไมโครกรัม0.551.1723.3
วิตามินบี 1, มิลลิกรัม0.040.097.2-7.9
วิตามินบี 2, มิลลิกรัม0.070.1611.9-14.1
วิตามินบี 6, มิลลิกรัม0.100.2015.5
วิตามินบี 12, ไมโครกรัม0.240.5020.8
วิตามินซี, มิลลิกรัม3.457.2416.1
วิตามินอี, มิลลิกรัม4.699.8698.6-131.5
วิตามินเค1, ไมโครกรัม2.605.508.5-10.0
กรดโฟลิก, มิลลิกรัม0.020.0512.5
กรดแพนโทธินิก, มิลลิกรัม0.521.0921.8
กรดนิโคตินิก, มิลลิกรัม0.671.40**
ไบโอติน, ไมโครกรัม11.9025.0083.3
โคลีน, มิลลิกรัม2.405.05**
แร่ธาตุ   
โซเดียม, มิลลิกรัม22.6047.45**
โพแทสเซียม, มิลลิกรัม77.10162.00**
แคลเซียม, มิลลิกรัม32.8069.006.9
แมกนีเซียม, มิลลิกรัม9.6020.207.8-9.2
คลอไรด์, มิลลิกรัม104.30218.95**
ฟอสฟอรัส, มิลลิกรัม39.9083.75**
เหล็ก, มิลลิกรัม0.601.324.5-9.6
สังกะสี, มิลลิกรัม2.305.0035.7-51.0
ทองแดง, ไมโครกรัม67.10141.005.5
ไอโอดีน, ไมโครกรัม4.509.556.4
แมงกานีส, มิลลิกรัม0.080.18**

(*) WHO RNI คือสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันตามข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก
(**) WHO RNI มิได้กำหนดไว้

ส่วนประกอบที่สำคัญโดยประมาณ(%โดยน้ำหนัก)
เด็กซ์ตริน58.0 %
เจลาติน ไฮโดรไลเสท13.0 %
กรดอะมิโน13.0 %
น้ำมันรำข้าว7.0 %
เกลือแร่รวม2.267 %
วิตามินรวม0.138 %
แต่งกลิ่นเลียนธรรมชาติ 
อิมัลซิไฟเออร์ (INS 433 INS 473),วัตถุกันเสีย (INS 202) 
สารควบคุมความเป็นกรด (INS 522) 
สีธรรมชาติ (INS 120 INS 164) 

Aminoleban-Oral is an enteral formula containing amino acids, carbohydrates, fats, vitamins and minerals to supplement the dietary intake in patients with hepatic impairments.

Aminoleban-Oral thus prepared is highly effective not only in correcting plasma amino acids imbalance but also in treating hepatic encephalopathy and in providing adequate nutritional support to the patients.

อาหารทางการแพทย์ชนิดโภชนาการครบถ้วน เฉพาะผู้ป่วยด้วยโรคตับ ใช้สำหรับเสริมปริมาณสารอาหารในผู้ป่วยที่มีการทำงานของตับเสื่อมสมรรถภาพ

Halal

สนง.คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย

 

หลักการให้อาหารทางสายให้อาหาร

 

การให้อาหารทางสายยาง หมายถึง การให้อาหาร (Nutrients) เข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal system) โดยผ่านทางสาย (Tube) ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ทางปาก แต่ระบบทางเดินอาหารยังคงสามารถย่อยและดูดซึมอาหารได้ ( functional GI tract) นั่นหมายถึงการย่อยและการดูดซึมอาหารทำงานได้เป็นปกติดีแต่อาจมีปัญหาอื่นๆ เช่น กลืนลำบาก, กลืนแล้วสำลัก, ร่างกายอ่อนเพลียมาก, รับประทานอาหารไม่ได้ หรือรับประทานอาหารได้ไม่เพียงพอ, ขาดอาหาร, ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว เช่น มีโรคทางสมอง หรือได้รับการผ่าตัดเกี่ยวกับปาก เป็นต้น

 

รูปแบบของการใส่สายให้อาหาร มีดังนี้ 

 

  • Nasogastric tube feeding เป็นการให้อาหารทางสายที่ใส่ผ่านจากรูจมูกถึงกระเพาะอาหาร
  • Orogastric Tube feeding  เป็นการใส่สายให้อาหารเข้าทางปาก ผ่านหลอดอาหารเข้าไปในกระเพาะอาหาร ส่วนมากจะทำในผู้ป่วยเด็กทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อย เพื่อให้นมผสม เนื่องจากเด็กทารกรูจมูกจะเล็กและบางมาก การใส่สายให้อาหารทางรูจมูก อาจทำให้ traumaต่อเยื่อบุจมูกและทำให้เด็กหายใจไม่สะดวก
  • Gastrostomy tube feeding เป็นการให้อาหารทางสายที่เจาะผ่านทางหน้าท้องเข้าไปในกระเพาะอาหาร ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถใส่สายผ่านทางหลอดอาหารได้ เนื่องจากมีการอุดตันของหลอดอาหาร หรือมีการตัดกระเพาะอาหารออกบางส่วน รวมถึงผู้ป่วยที่จำเป็นต้องให้อาหารทางสายเป็นเวลานาน

 

ในผู้ป่วยที่ยังคงต้องให้อาหารผ่านทางสายให้อาหารที่บ้าน ญาติจะต้องเรียนรู้วิธีการเตรียมอาหารเหลวและวิธีการให้อาหารทางสายให้อาหารแก่ผู้ป่วย ตลอดจนการสังเกตอาการของผู้ป่วย ขณะให้อาหารด้วย

 

รูปแบบการให้อาหารทางสายให้อาหาร มีดังนี้

 

  1. Intermittent enteral tube feeding เป็นการให้อาหารทางสายอาหารเป็นครั้งคราววันละ4-6ครั้ง ส่วนใหญ่มักจะให้ตามมื้อของอาหาร เพื่อให้เป็นไปตามแบบแผนการดำเนินชีวิตในการรับประทานอาหารของคนทั่วไป คือ อาหารมื้อเช้า กลางวัน เย็น และในกรณีที่อาหารเหลวมีปริมาณมาก อาจจะแบ่งเป็น 4มื้อ คือมื้อก่อนนอนด้วย ส่วนระหว่างมื้ออาจจะให้น้ำเปล่า เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำเพียงพอ
  2. Continuous enteral tube feeding เป็นการให้อาหารทางสายให้อาหารแบบต่อเนื่อง โดยให้หยดทางสายให้อาหารช้า ๆ ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับอาหารเหลวได้ทีละจำนวนมากๆ เช่น ในรายที่มีปัญหาในการย่อยและดูดซึม วิธีการให้อาหารแบบ continuous feeding จะต้องใช้อุปกรณ์ที่เป็นสายและมี clamp สำหรับปรับอัตราหยด โดยจะต้องควบคุมให้หยดช้าๆ และต่อเนื่องในเวลาที่กำหนด หรืออาจจะควบคุมจำนวนหยดด้วยเครื่อง (Infusion pump)

 

วิธีการให้อาหารทางสายให้อาหาร มีดังนี้

 

  1. เตรียมของเครื่องใช้ในการให้อาหารทางสายยาง อาหารเหลวที่เตรียมให้ผู้ป่วย รวมทั้งยาของผู้ป่วยที่มีให้หลังอาหารให้พร้อม
  2. จัดท่านอนให้ผู้ป่วยศีรษะอยู่สูงอย่างน้อย45องศา ในรายที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวควรให้หนุนหมอน ตั้งแต่หลังจนถึงศีรษะโดยใช้หมอน2ใบใหญ่หรือจัดให้ผู้ป่วยนั่งพิงพนักเตียงหรือให้นั่งเก้าอี้
  3. ผู้ที่จะให้อาหารต้องล้างมือให้สะอาดตามวิธีการล้างมือที่ถูกวิธี
  4. ในผู้ป่วยที่เจาะคอมีท่อหายใจ ให้ดูดเสมหะในหลอดลมคอก่อนเพื่อป้องกันผู้ป่วยไอ จากการมีเสมหะมาก ขณะให้อาหารทางสายให้อาหารเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนปอดอักเสบจากการสำลักอาหาร และล้างมื้ออย่างถูกวิธี
  5. ดึงจุกที่ปิดหัวต่อปลายสายให้อาหารออก ขณะเดียวกันใช้นิ้ว พับสายคีบเอาไว้ เพื่อป้องกันลมเข้ากระเพาะอาหารผู้ป่วย เพราะจะทำให้ผู้ป่วยท้องอืดได้
  6. ใช้สำลีชุบน้ำต้มสุก เช็ดบริเวณจุกให้อาหารทางสายยาง
  7. เอากระบอกให้อาหาร พร้อมลูกสูบต่อกับหัวต่อและปล่อยนิ้วที่คีบสายออก ทำการทดสอบดูว่า ปลายสายยางให้อาหาร ยังอยู่ในกระเพาะอาหารหรือไม่โดย
  8. ใช้กระบอกให้อาหารดูดอาหารหรือน้ำออกจากพระเพาะ ถ้ามีมากเกิด 50ซีซี ให้ดันอาหาร น้ำกลับคืนไปอย่างช้าๆ และเลื่อนเวลาออกไปครั้งละ 1ชั่วโมง แล้วมาทดสอบดูใหม่ ถ้ามีไม่เกิน 50ซีซี ให้ดันอาหารน้ำกลับคืนไปอย่างช้าๆ และให้อาหารได้ ถ้าดูดออกมาแล้ว ไม่มีอาหารตามขึ้นมาเลย ให้ดูดลมเข้ามาในกระบอกอาหาร ประมาณ 20ซีซี แล้วต่อเข้ากับสายให้อาหาร พร้อมกับเอาฝ่ามืออีกด้านหนึ่ง หรือหูแนบเข้ากับใต้ชายโครงด้านซ้าย ดันลมในกระบอกให้เข้าไปในกระเพาะอาหารอย่างช้า ถ้าสายอยู่ในกระเพาะอาหาร จะรู้สึก หรือได้ยินเสียงลมเข้าไปในกระเพาะอาหาร จากนั้นให้ดูดลมออกด้วย อาจจะประมาณ 20ซีซี ถ้าดูดออกมาแล้วได้ของเหลวสีน้ำตาลเข้ม ๆ ควรปรึกษาแพทย์ เพราะผู้ป่วยอาจมีปัญหาแผลในกระเพาะอาหารได้
  9. พับสายยาง ปลดกระบอกให้อาหารออก เอาลูกสูบออกจากกระบอกแล้วต่อกระบอกเข้ากับสายให้อาหารใหม่ หรือถ้าใช้เซตให้อาหารทางสายให้อาหาร ต่อสายเข้ากับ สายให้อาหารได้เลย
  10. เทอาหารใส่กระบอกครั้งละประมาณ50ซีซี ยกกระบอกให้สูงกว่าผู้ป่วยประมาณ 1ฟุต ปล่อยให้อาหารไหลตามสายช้าๆ อย่าให้อาหารไหลเร็ว ถ้าเร็วมากต้องลดกระบอกให้ต่ำลง เพราะการให้อาหารเร็วมากเกินไป จะทำให้ผู้ป่วยคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หรือท้องเดิน
  11. เติมอาหารใส่กระบอกเพิ่มอย่าให้อาหารในกระบอกลดระดับลงจนมีอากาศในสาย เพราะอากาศจะทำให้ผู้ป่วยท้องอืดได้
  12. เมื่ออาหารกระบอกสุดท้ายเกือบหมดให้เติมน้ำและยาหลังอาหารที่เตรียมไว้ เติมน้ำ ตามอีกครั้ง จนยาไม่ติดอยู่ในสายให้อาหาร และไม่ควรมีน้ำเหลือค้างอยู่ในสาย
  13. พับสาย ปลดกระบอกให้อาหารออก เช็ดหัวต่อด้วยสำลีชุบน้ำต้มสุกปิดจุกหัวต่อให้เรียบร้อย
  14. ให้ผู้ป่วยนอนในท่าศีรษะสูงหรือนั่งพัก หลังให้อาหารต่อไปอีกประมาณ 1 ชั่วโมง

 

สิ่งสำคัญคือข้อควรระวังในการดูแลผู้ป่วยใส่สายให้อาหาร  ได้แก่

 

  1. การสำลักหรืออาเจียน จะทำให้ปลายสายให้อาหารเลื่อนออก (tube displacement) มาอยู่ในหลอดอาหาร  (esophagus) หรือเข้าไปในหลอดลม (respiratory tract) ผู้ให้อาหารควรทดสอบปลายสายก่อนให้อาหารทุกครั้ง เพื่อป้องกันการสำลัก ชอาหารเหลวเข้าไปในหลอดลม หรือหลอดอาหาร
  2. การให้อาหารทางสายเร็วเกินไป ทำให้เกิดการหดเกร็งของกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยสำลักอาหารได้
  3. อาการท้องเสีย เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุดังนี้

 

  • ผู้ป่วยที่ไม่มีน้ำย่อยสำหรับย่อยนม ( lactose interance) ถ้าสูตรอาหารเหลวมีนมผสมจะทำให้ผู้ป่วยท้องเสียได้
  • สูตรอาหารที่เข้มข้นมาก ( High osmolarity formula) เป็นสาเหตุให้มีการดึงน้ำออกมาอยู่ในลำไส้มาก และเกิดอาการท้องเสียได้
  • อาหารเหลวที่มีการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย หรือจากการเก็บอาหารเหลวไม่ถูกต้องทำให้อาหารเหลวบูด

อาหารการกินและสุขภาพตับ

ฐนิต วินิจจะกูล, B.SC.,CDT.
ตับ เป็นอวัยวะที่สำคัญในการเผาผลาญสารอาหารต่างๆและขจัดสารพิษในร่างกาย จึงเป็นอวัยวะที่ควรได้รับการเอาใจใส่เป็นพิเศษ ดังนั้น การดูแลเรื่องอาหาร และการป้องกันโรคต่างๆ ที่มีผลต่อตับ จะทำให้ตับสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนเดิม แม้วัยสูงอายุ คลิ๊กอ่านต่อ

 

กินอย่างไรเมื่อไขมันพอกตับ

 

 

 

ความอ้วนและพฤติกรรมบางอย่าง เป็นสาเหตุของไขมันพอกตับ ผู้ที่มีปัญหาไขมันพอกตับ ไม่มีอาหารเฉพาะอย่างที่จะสามารถช่วยให้ไขมันพอกตับลดลงได้ สิ่งสำคัญคือ แบบแผนอาหารที่สมดุล และเหมาะสม คลิ๊กอ่านต่อ

 

กินอย่างไรเมื่อตับแข็ง
เมื่อตับเกิดปัญหาจนดำเนินมาถึงโรคตับแข็ง การทำงานของตับย่อมลดลง เกิดผลกระทบต่อร่างกาย เช่น ท้องอืด แน่นท้อง การเผาผลาญสารอาหารที่ผิดปกติ เป็นต้น ดังนั้นปัญหาที่พบได้บ่อย คือ ภาวะขาดสารอาหาร การให้โภชนาการที่เหมาะสมจึงจำเป็นต่อผู้ป่วยโรคตับเป็นอย่างมากนอกจากจะทำให้อาการดีขึ้น ยังช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้อีกด้วย

 

 

1. มีโปรตีน สูงถึง 25% ประกอบด้วย
– กรดอะมิโน ชื่อ BCAA (Branched Chain Amino Acid) 48% เป็นกรดอะมิโนแบบกิ่ง ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่สำคัญที่จะกระตุ้นให้ร่างกายสังเคราะห์โปรตีนเสริมสร้างกล้ามเนื้อ กระตุ้นภูมิคุ้มกันและลดอาการทางสมองที่เกิดจากโรคตับ (Hepatic Encephalopathy) ในผู้ป่วยได้
– เจลาตินไฮโดรไลเสท 48 %
– เคซีน 4% เป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูงย่อยง่าย ดูดซึมง่าย

2. ไขมัน
– น้ำมันรำข้าว 100% ให้กรดไขมันจำเป็นครบถ้วน เนื่องจากผู้ป่วยโรคตับมีความผิดปกติในการเผาผลาญไขมัน จึงใส่ในปริมาณที่พอดีเพื่อให้ได้กรดไขมันจำเป็น

3. คาร์โบไฮเดรต
– เด็กซ์ตริน 90% คุณภาพดีถูกย่อยและดูดซึมได้ง่าย
– น้ำตาลซูโครส 10% เป็นแหล่งพลังงานสำคัญของผู้ป่วยและยังทำให้รสชาติดีขึ้น

4. มีส่วนประกอบของวิตามิน ที่ละลายไขมันคือ เอ ดี อี เค

5. มีแร่ธาตุสังกะสี เนื่องจากผู้ป่วยโรคตับมักจะขาด

 

– เพราะตับมีหน้าที่สังเคราะห์ BCAA (Branched Chain Amino Acid) จากการรับประทานโปรตีนและเก็บสะสมไว้ที่ตับ 50% สะสมที่กล้ามเนื้อ 50% ในผู้ป่วยโรคตับจะเกิดการบกพร่องในการทำงาน ทำให้ไม่สามารถนำสารอาหารต่างๆไปใช้ได้ดีเหมือนเดิม
– ในผู้ป่วยโรคตับ ตับไม่สามารถสังเคราะห์ และเก็บสะสม BCAA (Branched Chain Amino Acid) ได้ดีเหมือนเดิม ในขณะที่ร่างกายมีการใช้ที่เพิ่มขึ้นจึงเกิดการสลายกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้ BCAA (Branched Chain Amino Acid) ซึ่งมีผลทำให้ผู้ป่วยโรคตับมีกล้ามเนื้อที่ลดลง BCAA (Branched Chain Amino Acid) ที่สะสมที่กล้ามเนื้อจึงลดลงตามไปด้วย

ดังนั้นผู้ป่วยโรคตับจึงขาด Branched Chain Amino Acid

 

  • ทำให้ระดับโปรตีนในเลือดลดต่ำลง ส่งผลให้การสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลงด้วยเช่นกัน
  • มีการสลายโปรตีนที่กล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆในร่างกายเพิ่มขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ผู้ป่วยมีกล้ามเนื้อลดลง แขน ขา ลีบ อ่อนเพลียเพิ่มขึ้นและยังทำให้มีแอมโมเนียในกระแสเลือดสูง
  • ทำให้มี AAA (Aromatic Amino Acids)ในร่างกายสูงขึ้น ซึ่งจะเข้าสู่สมองได้มากกว่า BCAA (Branched Chain Amino Acid) เกิดการเสียสมดุลของสารสื่อประสาทในสมองจึงเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะสมองเสื่อมจากโรคตับที่เรียกว่า Hepatic Encephalopathy
 

แนะนำให้ทานเสริมมื้ออาหาร
-ผสม 5 ช้อน (50 กรัม) ผสมน้ำให้ได้ปริมาตร 200 มิลลิลิตร พลังงาน 210 กิโลแคลอรี่ /1 แก้ว โปรตีน 13.5 กรัม/ 1 แก้ว
**เพิ่มลดปริมาณตามความต้องการพลังงาน/วัน
– ผสมในน้ำอุ่น
– ดื่ม หรือให้ทางสายยางให้อาหารวันละ 3 แก้ว ได้แก่ มื้อสาย,บ่าย,ก่อนนอน(สำคัญที่สุด)

 

– เป็นอาหารทางการแพทย์ที่มีส่วนประกอบและสัดส่วนที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคตับ,ตับแข็ง,มะเร็งตับ และสมองเสื่อม จากโรคตับ (Hepatic Encephalopathy)

  • มีส่วนประกอบของ BCAA(branched chain amino acid) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนแบบกิ่ง สูงจะช่วยเสริมสร้างระดับโปรตีน , สร้างสมดุลของกล้ามเนื้อและสารเคมีในสมองของผู้ป่วย
  • ช่วยลดภาวะการขาดโปรตีน และพลังงานในผู้ป่วยโรคตับได้
  • ช่วยให้ผู้ป่วยโรคตับมีคุณภาพชีวิตที่ดี
  • ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคตับลงได้
 

ผู้ป่วยมีความผิดปกติในการสันดาปกรดอะมิโน

 

รสชาติที่เกิดขึ้นเป็นผลของกรดอะมิโนซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญใน Aminoleban-Oral แนะนำผสมน้ำหวาน หรือ การดัดแปลงเป็น เครื่องดื่มเพื่อให้ทานง่ายมากขึ้น

ข้อควรระวัง ไม่ควรผสมกับสารอื่นๆ ที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น น้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว

 

1. ผู้ป่วยโรคตับ การทำงานของตับผิดปกติรุนแรง

2. ผู้ป่วยตับแข็ง

3. ผู้ป่วยมะเร็งตับ

4. ผู้ที่มีอาการทางสมอง เนื่องจากโรคตับ

 

ข้อควรรู้ – การเตรียมโดยน้ำที่มีอุณหภูมิสูง อาจทำให้เกิดการแปลงสภาพของโปรตีนได้


เขียนคำนิยม

AMINOLEBAN-ORAL อะมิโนเลแบน-ออราล 450 กรัม

AMINOLEBAN-ORAL อะมิโนเลแบน-ออราล 450 กรัม

AMINOLEBAN-ORAL อะมิโนเลแบน-ออราล 450กรัม

มีสารอาหารครบถ้วนใช้สำหรับเสริมปริมาณสารอาหาร Aminoleban อะมิโนเลแบน AMINOLEBAN-ORAL อาหารทางการแพทย์ ชนิดโภชนาการครบถ้วน (ใช้ตามคำแนะนำของแพทย์) เป็นสูตรอาหาร ที่มีปริมาณกรดอะมิโนชนิดกิ่งสูง มีปริมาณกรดอะมิโนชนิดวงต่ำ ใช้สำหรับเสริมปริมาณสารอาหาร ส่วนประกอบที่สำคัญโดยประมาณ เด็กซ์ตริน 58.0%,เจลาติน ไฮโดรไลเสท 13%,กรดอะมิโน13%,น้ำมันรำข้าว 7%,เกลือแร่ 2.267%,วิตามิน0.138%,แต่งกลิ่นเลียนธรรมชาติ วิธีใช้โดยการดื่ม(Supplement)หรือให้ทางสายให้อาหาร(Tube Feeding) AMINOLEBAN-ORAL 1กระป๋อง(450กรัม)ให้โปรตีน121.5กรัม และให้พลังงาน1890กิโลแคลอรี่ #ตับ #บํารุงตับ

เขียนคำนิยม

PayPal