CENTRUM Stresstabs 600+Zinc (60 tablets)
ส่วนประกอบในแต่ละเม็ด (% U.S. RDA สำหรับผู้ใหญ่)
Vitamin E (dl-Alpha Tocopheryl Acetate) 30 I.U. (100%)
Vitamin C (Ascorbic Acid) 600 mg (1000%)
B Vitamins
Folic Acid 400 mcg (100%)
Vitamin B1 (Thiamine Mononitrate) 15 mg (1000%)
Vitamin B2 (Riboflavin) 10 mg (588%)
Nicotinamide 100 mg (500%)
Vitamin B6 (Pyridoxine Hydrochloride) 5 mg (250%)
Vitamin B12 (Cyanocobalamin) 12 mcg (200%)
Biotin 45 mcg (15%)
Pantothenic Acid (Calcium Pantothenate USP) 20 mcg (200%)
Copper Oxide equipvalent to Copper 3 mg (150%)
Zinc Oxide equipvalent to Zinc 23.9 mg (159%)
ปริมาณการทาน : ผู้ใหญ่ 1 เม็ดต่อวัน (หรือใช้ตามแพทย์สั่ง)
แนะนำสารเสริมอาหาร
สารเสริมอาหารประกอบด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารอื่นๆ ที่คิดค้นขึ้นเพื่อช่วยเติมเต็มการขาดสารอาหาร สารเสริมอาหารไม่ได้มีขึ้นเพื่อทดแทนมื้ออาหารที่จำเป็น วิตามินเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่อาจได้มาจากพืชหรือสัตว์ วิตามินช่วยให้เซลล์ของร่างกายทำงานได้อย่างเหมาะสมและเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ คนทุกวัย
วิตามินมีสองประเภท คือ วิตามินที่ละลายในน้ำ และวิตามินที่ละลายในไขมัน วิตามินที่ละลายในน้ำจำเป็นต้องมีการทดแทนเป็นประจำ เนื่องจากไม่ง่ายนักที่ร่างกายจะสามารถเก็บวิตามินไว้ในร่างกายได้ ส่วนวิตามินที่ละลายในไขมันจะสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อไขมัน วิตามินแต่ละชนิดจำเป็นสำหรับการทำงานบางอย่างของร่างกาย ตัวอย่างเช่น วิตามินเอ บำรุงสายตา และวิตามินเค ช่วยควบคุมกระบวนการแข็งตัวของเลือด
แร่ ธาตุเป็นสารประกอบอนินทรีย์ตามธรรมชาติที่ช่วยในกระบวนการทางชีวเคมี ตัวอย่างเช่น แคลเซียมช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก และธาตุเหล็กจำเป็นต่อการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ทำหน้าที่ส่งออกซิเจนให้ กับทุกส่วนของร่างกาย เราจำเป็นต้องได้รับแร่ธาตุทั้งหมดจากอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตขึ้นเองได้ แร่ธาตุสามารถแบ่งได้เป็นแร่ธาตุหลัก (Macro-mineral) และแร่ธาตุรอง (Micro-mineral) โดยกำหนดจากปริมาณที่ร่างกายต้องการ
วิตามินเอ (เรตินอล) : เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ทำหน้าที่ซ่อมแซมและรักษาเนื้อเยื่อในร่างกาย เพิ่มภูมิต้านทาน ช่วยการมองเห็นในที่มืด และช่วยในการสังเคราะห์ RNA นอกจากนั้นวิตามินเอ เกี่ยวข้องกับการทำงานของ กระดูก ตา ผม ผิวหนัง เนื้อเยื่ออ่อน ฟัน โดยปกติวิตามินเอ พบในอาหารประเภท ผัก ผลไม้ที่มีสีเขียวและเหลือง นมและผลิตภัณฑ์จากนม ปลา ไข่ มาการีน อาการของการขาดวิตามินเอ คือ ไม่อยากอาหาร การอักเสบ ผมแห้ง อ่อนล้า ประสิทธิภาพในการดมกลิ่นเสียไป ตาบอดกลางคืน ผิวแห้งหยาบ ไซนัส ฟันไม่แข็งแรง ภูมิแพ้และติดเชื้อง่าย
วิตามินดี (แคลซิเฟอรอล) : เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ทำหน้าที่ช่วยในการเมตาบอลิซึมของแคลเซียมและฟอสฟอรัส และเกี่ยวข้องกับการทำงานของ กระดูก หัวใจ ระบบประสาท ผิวหนัง ฟัน ต่อมไทรอยด์ โดยปกติวิตามินดี พบในอาหารประเภท นมและผลิตภัณฑ์จากนม ปลา ไข่ ร่างกายสามารถสังเคราะห์วิตามินดี ได้ที่ผิวหนัง โดยต้องได้รับแสงแดดอ่อนๆ อย่างไรก็ดีกลับพบว่าคนไทยขาดวิตามินดี กันมาก ทั้งๆ ที่ประเทศเรามีแสงแดดจัด ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น การให้ครีมกันแดด การใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดร่างกายจากแสงแดด การทำงานกะกลางคืน หรือในคนสูงอายุที่ขบวนการสังเคราะห์วิตามินดี ของผิวหนังเสื่อมลง อาการของการขาดวิตามินดี คือ กระดูกอ่อน ฟันอ่อน
วิตามินอี (โทโคฟีรอล) : เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ช่วยชะลอความแก่ ต่อต้านการแข็งตัวของเลือด ลดระดับคลอเรสเตอรอลในเลือด การไหลเวียนของเลือดเข้าสู่หัวใจ ความแข็งแรงของผนังหลอดเลือด ระบบสืบพันธุ์ สมรรถภาพทางเพศ ดูแลรักษากล้ามเนื้อและเส้นประสาท และเกี่ยวข้องกับการทำงานของ เส้นเลือด หัวใจ ปอด เส้นประสาท ผิวหนัง โดยปกติวิตามินอี พบในอาหารประเภท ผักสีเขียวเข้ม ไข่ ตับ เครื่องใน น้ำมันพืช ถั่วเหลือง ธัญพืช อาการของการขาดวิตามินอี คือ ผมแห้ง ผมร่วง ต่อมลูกหมากบวม โรคทางเดินอาหาร เสื่อมสมรรถภาพ แท้ง สูญเสียกล้ามเนื้อ เป็นหมัน
วิตามินเค (เมนาไดโอน) : เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ช่วยในการแข็งตัวของเลือด และเกี่ยวข้องกับการทำงานของเลือด และตับ โดยปกติวิตามินเค พบในอาหารประเภท ผักใบเขียว น้ำมันดอกคำฝอย ข้าวโอ๊ต ตับปลา อาการของการขาดวิตามินเค คือ ท้องเสีย แนวโน้มเลือดไหลไม่หยุด แท้ง เลือดออกทางจมูก
วิตามินบี1 (ไทอามีน) : เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ มีบทบาทหน้าที่ในการเมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต การย่อยอาหาร สร้างพลังงาน การเจริญเติบโตของร่างกาย การบีบตัวของกล้ามเนื้อ การทำงานของระบบประสาท และเกี่ยวข้องกับการทำงานของ สมอง หัวใจ และระบบประสาท วิตามินบี1 พบในอาหารประเภท ยีสต์ ข้าวไม่ขัดสี ปลา เนื้อ ถั่ว เครื่องใน สัตว์ปีก จมูกข้าวสาลี นม อาการของการขาดวิตามินบี1 คือ ไม่อยากอาหาร อ่อนล้า เหนื่อยง่าย หงุดหงิดง่าย หวาดระแวง ชาที่แขนและขา เจ็บหัวใจ
วิตามินบี2 (ไรโบฟลาวิน) : เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ มีบทบาทหน้าที่ในการสร้างภูมิคุ้มกันและเม็ดเลือดแดง การหายใจในระดับเซลล์ เมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน และเกี่ยวข้องกับการทำงานของ ตา ผม ผิวหนัง และ เนื้อเยื่ออ่อนวิตามินบี2 พบในอาหารประเภท ถั่ว ปลา เครื่องใน เมล็ดธัญพืช นม ชีส ปลา อาการของการขาดวิตามินบี2 คือ ปากนกกระจอก คันตา ลิ้นแสบ ผิวหนังอักเสบ ไม่เจริญเติบโต
วิตามินบี3 (นิโคตินาไมด์ ไนอาซิน ไนอาซินาไมด์) : เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ มีบทบาทหน้าที่ในระบบการหมุนเวียนของเลือด ลดระดับคลอเรสเตอรอล การเจริญเติบโต ระบบเมตาบอลิซึม การผลิตฮอร์โมนเพศ และเกี่ยวข้องกับการทำงานของ สมอง ตับ เส้นประสาท ผิวหนัง เนื้อเยื่ออ่อน ลิ้น วิตามินบี3 พบในอาหารประเภท ยีสต์ อาหารทะเล เนื้อไม่ติดมัน นมและผลิตภัณฑ์จากนม สัตว์ปีก ไข่ อาการของการขาดวิตามินบี3 คือ ปากนกกระจอก คันตา ลิ้นแสบ ผิวหนังอักเสบ ไม่เจริญเติบโต
วิตามินบี5 (กรดแพนโทเทนิค) : เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ มีบทบาทหน้าที่ในการสร้างภูมิต้านทาน เปลี่ยนโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตเป็นพลังงาน กระตุ้นการเจริญเติบโต การนำวิตามินไปใช้ และเกี่ยวข้องกับการทำงานของ ต่อมอดรีนัล ระบบทางเดินอาหาร เส้นประสาท ผิวหนัง วิตามินบี5 พบในอาหารประเภท ยีสต์ ถั่วมีฝัก เครื่องใน แซลมอน จมูกข้าว เมล็ดธัญพืช ไข่ และ ไก่ อาการของการขาดวิตามินบี5 คือ ท้องเสีย แผลที่ลำไส้เล็ก ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ปัญหาที่ไต ผมร่วง ตะคริว ติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ ปัญหาเส้นประสาท กระวนกระวาย ซึมเศร้า อาเจียน อ่อนเพลีย
วิตามินบี6 (ไพรีดอกซิน) : เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ มีบทบาทหน้าที่ในการนำโปรตีนและไขมันไปใช้ รักษาระดับโซเดียม โปตัสเซียม ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบประสาท และควบคุมการทำงานของ กล้ามเนื้อ เลือด และ ผิวหนัง และเกี่ยวข้องกับการทำงานของเลือด กล้ามเนื้อ เส้นประสาท และผิวหนัง วิตามินบี6 พบในอาหารประเภท ยีสต์ ผักใบเขียว เครื่องใน จมูกข้าว เมล็ดธัญพืช ตับ ปลา ไข่ และ ไก่ อาการของการขาดวิตามินบี6 คือ สิว โลหิตจางโรคข้ออักเสบ อาหารชักในทารก ผมร่วง ตะคริว มึนงง หงุดหงิดง่าย ความสามารถในการเรียนรู้ด้อยลง อ่อนแอ นอนไม่หลับ
วิตามินบี12 (ไซยาโนโคบาลามีน) : เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ มีบทบาทหน้าที่ควบคุมความอยากอาหาร การสร้างผนังเซลล์ อายุของเซลล์ ความสมบูรณ์ของระบบประสาท เมตาบอลิซึม (ของคาร์ไบไฮเดรต ไขมัน และ โปรตีน) และเกี่ยวข้องกับการทำงานของ เลือด และเส้นประสาท วิตามินบี12 พบในอาหารประเภท ชีส ปลา นมและผลิตภัณฑ์ของนม เครื่องใน ไข่ ตับ เนื้อวัว และหมู วิตามินบี12 ไม่พบในพืช ผัก ดังนั้น ผู้ที่ทางมังสวิรัติเป็นประจำจึงมักขาดวิตามินนี้ อาการขาดวิตามินบี12 คือ อ่อนแอ กระวนกระวาย โรคโลหิตจาง ความลำบากในการเดิน พูด ซึมเศร้าทางจิต และสับสนทางจิต
ไบโอติน (โคเอนไซม์ R หรือวิตามินH วิตามินบี-คอมเพล็กซ์) : เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ มีบทบาทหน้าที่ควบคุมการเติบโตของเซลล์ การผลิตกรดไขมัน เมตาบอลิซึม (คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน) การนำวิตามินบี1 ไปใช้ และเกี่ยวข้องกับการทำงานของ ผม กล้ามเนื้อ และผิวหนัง ไบโอตินพบในอาหารประเภท ถั่วมีฝัก เมล็ดธัญพืช เครื่องใน ไข่แดง เม็ดถั่ว และข้าวไม่ขัดสี อาการขาดไบโอติน คือ ซึมเศร้า ผิวหนังแห้ง ผิวคล้ำ อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เจ็บกล้ามเนื้อ และไม่อยากอาหาร
กรดโฟลิก : เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ มีบทบาทหน้าที่ควบคุมความอยากอาหาร การสร้างเซลล์ใหม่ และการเจริญเติบโตของเซลล์ การสร้างกรดไฮโดรคลอริก เมตาบอลิซึมโปรตีน และการสร้างเม็ดเลือด และเกี่ยวข้องกับการทำงานของ เลือด ต่อม และ ตับ กรดโฟลิกพบในอาหารประเภท ผักใบเขียว นมและผลิตภัณฑ์จากนม เครื่องใน หอยนางรม แซลมอน ธัญพืช และไข่แดง อาการของการขาดกรดโฟลิก คือ โลหิตจาง รบกวนการย่อยอาหาร ผมหงอก ปัญหาการเจริญเติบโต นอนไม่หลับ
วิตามินซี (กรดแอสคอร์บิก) : เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ มีบทบาทหน้าที่ในการสร้างกระดูกและฟัน การสร้างคอลลาเจน การย่อยอาหาร การรักษาแผล (ไหม้ บาดแผล) การสร้างเม็ดเลือดแดง (ป้องกันภาวะเลือดไหลไม่หยุด) ป้องกันการช็อกและติดเชื้อ (หวัด) และป้องกันวิตามินจากปฎิกิริยาออกซิเดชั่น และเกี่ยวข้องกับการทำงานของ ต่อมอดรีนัล เลือด ผนังเส้นเลือด เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (ผิวหนัง เส้นเอ็น และกระดูก) เหงือก และฟัน วิตามินซี พบในอาหารประเภท ผลไม้ตระกูลส้ม และมะนาว มันฝรั่ง พริกหยวกเขียว บร็อคโคลี่ มะละกอ สตรอเบอร์รี่ แบล็กเคอเรนต์ และมะเขือเทศ อาการของการขาดวิตามินซี คือ โลหิตจาง เลือดออกตามไรฟัน ผนังเส้นเลือดแตก บวมง่าย ฟันผุ ติดเชื้อง่าย (หวัด) เลือดกำเดาออก และย่อยยาก
แคลเซียม : เป็นแร่ธาตุที่มีบทบาทหน้าที่ในการสร้างกระดูก และฟัน การอุดตันของเลือด จังหวะการเต้นของหัวใจ การส่งกระแสประสาท การบีบและหดตัวของกล้ามเนื้อ และเกี่ยวข้องกับการทำงานของ เลือด กระดูก หัวใจ ผิวหนัง เนื้อเยื่ออ่อน และฟัน พบในอาหารประเภท นม ชีส โยเกิร์ต กระดูกสัตว์ ตับ (เนื้อ) และผักใบเขียว อาการของการขาดแคลเซียม คือ การเต้นของหัวใจผิดปกติ นอนไม่หลับ ตะคริว วิตกกังวล ชาตามมือและเท้า ฟันเสื่อม กระดูกพรุน และเล็บเปราะ
โครเมียม : เป็นแร่ธาตุที่มีบทบาทหน้าที่ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เมตาบอลิซึมของกลูโคส (พลังงาน) และเกี่ยวข้องกับการทำงานของเลือด และระบบการไหลเวียนโลหิต โครเมียมพบในอาหารประเภท ยีสต์ หอยกาบ น้ำมันข้าวโพด ซีเรียลธัญพืช อาการของการขาดโครเมียม คือ หลอดเลือดแข็งตัว การปรับระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานบกพร่อง
ทองแดง : เป็นแร่ธาตุที่มีบทบาทในการสร้างกระดูก สีผมและผิว กระบวนการสมานแผล การสร้างเฮโมโกลบิน และเซลล์เม็ดเลือดแดง และเกี่ยวข้องกับการทำงานของ เลือด กระดูก ระบบไหลเวียนเลือด ผม และผิวหนัง ทองแดงพบในอาหารประเภท ถั่วมีฝัก เม็ดถั่ว เครื่องใน อาหารทะเล ลูกเกด เนื้อ และถั่วเหลือง อาการของการขาดทองแดง คือ อ่อนเพลีย การหายใจผิดปกติ และเจ็บตามผิวหนัง
ไอโอดีน : เป็นแร่ธาตุที่มีบทบาทหน้าที่ในการสร้างพลังงาน เมตาบอลิซึม (ไขมันส่วนเกิน) และการพัฒนาทางร่างกายและจิต และเกี่ยวข้องกับการทำงานของ ผม และต่อมไทรอยด์ ไอโอดีนพบในอาหารประเภท อาหารทะเล และเกลือไอโอดีน อาการของการขาดไอโอดีน คือ มือเท้าเย็น ผมแห้ง หงุดหงิด ฉุนเฉียว วิตกกังวล และอ้วน
เหล็ก : เป็นแร่ธาตุที่มีบทบาทในการสร้างเฮโมโกลบิน ต่อต้านความเครียด การทำงานของสมอง การเจริญเติบโตของเด็ก และเกี่ยวข้องกับการทำงานของ เลือด กระดูก เล็บ ผิวหนัง และฟัน เหล็กพบในอาหารประเภท ไข่ เครื่องใน สัตว์ปีก จมูกข้าว และตับ อาการของการขาดเหล็ก คือ หายใจลำบาก เล็บเปราะ ผิวหนังซีด อ่อนล้า เวียนหัว น้ำหนักลด และเบื่ออาหาร
แมกนีเซียม : เป็นแร่ธาตุที่มีบทบาทหน้าที่ในการรักษาสมดุลกรด-ด่าง เมตาบอลิซึมของน้ำตาลในเลือด (พลังงาน) เมตาบอลิซึม (แคลเซียม วิตามินซี) และเกี่ยวข้องกับการทำงานของ เส้นเลือดแดงใหญ่ กระดูก หัวใจ กล้ามเนื้อ เส้นประสาท และฟัน แมกนีเซียมพบในอาหารประเภท รำข้าว น้ำผึ้ง ผักสีเขียว เม็ดถั่ว อาหารทะเล ผักโขม กระดูก และปลาทูน่า อาการของการขาดแมกนีเซียม คือ สับสน โกรธง่าย กระวนกระวาย ชีพจรเต้นเร็ว และใจสั่น
แมงกานีส : เป็นแร่ธาตุที่มีบทบาทหน้าที่ในการทำงานของเอนไซม์ การเจริญเติบโต และการสืบพันธุ์ สร้างฮอร์โมน การหายใจของเนื้อเยื่อ เมตาบอลิซึมของวิตามินบี1 และการนำวิตามินอี ไปใช้ และเกี่ยวข้องกับการทำงานของ สมอง ต่อมน้ำนม กล้ามเนื้อ และเส้นประสาท แมงกานีสพบในอาหารประเภท กล้วย รำข้าว คื่นช่าย ซีเรียล ไข่แดง ผักใบเขียว ถั่วมีฝัก ตับ เม็ดถั่ว และสัปปะรด อาการของการขาดแมงกานีส คือ เดินเซ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน การเจริญเติบโตผิดปกติ และระบบสืบพันธุ์ผิดปกติ
ฟอสฟอรัส : เป็นแร่ธาตุที่มีบทบาทในการสร้างกระดูกและฟัน การเจริญเติบโตและซ่อมแซมเซลล์ สร้างพลังงาน การบีบตัวของหัวใจ การทำงานของไต เมตาบอลิซึม (แคลเซียม, น้ำตาล) การทำหน้าที่ของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ การนำวิตามินไปใช้ และเกี่ยวข้องกับการทำงานของ กระดูก สมอง เส้นประสาท และฟัน ฟอสฟอรัสพบในอาหารประเภท ไข่ ปลา เมล็ดข้าว เนื้อ สัตว์ปีก ชีส นม และโยเกิร์ต อาการของการขาดฟอสฟอรัส คือ ไม่อยากอาหาร เจริญเติบโตช้า กระดูกผุ และกระดูกพรุน
โปตัสเซียม : เป็นแร่ธาตุที่มีบทบาทหน้าที่ในการควบคุมการเต้นของหัวใจ การเจริญเติบโต การบีบตัวของกล้ามเนื้อ และการทำงานของระบบประสาท และเกี่ยวข้องกับการทำงานของ เลือด หัวใจ ไต กล้ามเนื้อ เส้นประสาท และผิวหนัง โปตัสเซียมพบในอาหารประเภท น้ำมะเขือเทศ ถั่วลิสง ลูกเกด อาหารทะเล ลูกท้อ (แห้ง) และกล้วย อาการของการขาดโปตัสเซียม คือ คอแห้ง กระหายน้ำ ผิวแห้ง อ่อนแอ นอนไม่หลับ กล้ามเนื้อเสียหาย กระวนกระวาย หัวใจเต้นช้าผิดปกติ และปฎิกริยาโต้ตอบช้า
ซีลีเนียม : เป็นแร่ธาตุที่มีบทบาหน้าที่ในการสงวนความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อ ต้านอนุมูลอิสระ และการทำงานของตับอ่อน และเกี่ยวข้องกับการทำงานของ เลือด กล้ามเนื้อ ต่อม และตับอ่อน ซีลีเนียมพบในอาหารประเภท ยีสต์ ตับ ไข่ ปลา และเมล็ดธัญพืช อาการของการขาดซีลีเนียม คือ แก่ก่อนวัย ตกกระ และเกิดภาวะหัวใจพิการ (Cardiomyopathy)
โซเดียม : เป็นแร่ธาตุที่มีบทบาทหน้าที่ในการควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้ออย่างเหมาะสม และควบคุมระดับของเหลวปกติในเซลล์ และเกี่ยวข้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อ และเส้นประสาท โซเดียมพบในอาหารประเภท เกลือ ชีส อาหารทะเล เนื้อ สัตว์ปีก และปลา อาการของการขาดโซเดียม คือ กล้ามเนื้อฝ่อ น้ำหนักลด อ่อนแอ การเต้นของหัวใจผิดปกติ
ซัลเฟอร์ : เป็นแร่ธาตุที่มีบทบาทหน้าที่ในการสังเคราะห์คอลลาเจน การสร้างเนื้อเยื่อ และเกี่ยวข้องกับการทำงานของ เส้นผม เล็บ เส้นประสาท และผิวหนัง ซัลเฟอร์พบในอาหารประเภท ไข่ เม็ดถั่ว ปลา เนื้อ และสัตว์ปีก อาการของการขาดซัลเฟอร์ยังไม่ทราบเป็นที่แน่ชัด
สังกะสี : เป็นแร่ธาตุที่มีบทบาทหน้าที่ในการสมานแผล การย่อยคาร์โบไฮเดรต การทำงานต่อมลูกหมาก การเจริญเติบโต และพัฒนาการของอวัยวะสืบพันธุ์ เมตาบอลิซึมของวิตามินบี1 ฟอสฟอรัส และโปรตีน และเกี่ยวข้องกับการทำงานของ เลือด หัวใจ ต่อมลูกหมาก สังกะสีพบในอาหารประเภท ยีสต์ ตับ อาหารทะเล ถั่วเหลือง ผักโขม เมล็ดดอกทานตะวัน และเห็ด อาการของการขาดสังกะสี คือ การเจริญเติบโตทางเพศช้า เหนื่อยล้า ประสาทรับรสเสื่อม ไม่อยากอาหาร แผลหายช้า เติบโตช้า และเป็นหมัน
คลอไรด์ : เป็นแร่ธาตุที่มีบทบาทหน้าที่สมดุลอิเลคโทรไลต์ และสมดุลความเป็นกรด-ด่าง และเกี่ยวข้องกับการทำงานของเลือด และระบบหมุนเวียนเลือด คลอไรด์พบในอาหารประเภท เกลือ อาการของการขาดคลอไรด์ คือ อาเจียนไม่หยุด ภาวะอิเลคโตรไลต์ไม่สมดุล คลื่นไส้ สับสน
โมลิบดินัม : เป็นแร่ธาตุที่มีบทบาทหน้าที่ในการควบคุมการเจริญเติบโต กิจกรรมระดับเซลล์ และการทำงานของเอนไซม์ และเกี่ยวข้องกับการทำงานของ ฟัน เลือด ไต และตับ โมลิบดินัมพบในอาหารประเภท ถั่วมีฝัก เมล็ดข้าว ผักใบเขียว และเครื่องใน อาการของการขาดโมลิบดินัม คือ ท้องเสีย กดการเจริญเติบโต
นิเกิล : เป็นแร่ธาตุที่มีบทบาทหน้าที่ในการควบคุมการรบกวนกระบวนการสร้างเลือด กดการเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงของระดับธาตุเหล็ก ทองแดง และสังกะสีในตับ นิเกิลพบในอาหารประเภท เมล็ดถั่ว ถั่วแห้ง และเมล็ดข้าว อาการของการขาดนิเกิล ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน
วานาเดียม : เป็นแร่ธาตุที่มีบทบาทในการควบคุมการเจริญเติบโต เมตาบอลิซึมของกระดูก และการสืบพันธุ์และเกี่ยวข้องกับการทำงานของ กระดูก ฟัน และเลือด วานาเดียมพบในอาหารประเภท ปลา ผักชีฝรั่ง ถั่วเหลือง น้ำมันดอกคำฝอย ไข่ และหอยนางรม อาการของการขาดวานาเดียม คือ อาจเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและโรคไต ความสามารถในการสืบพันธุ์ลดลง
ซิลิคอน : เป็นแร่ธาตุที่มีบทบาทหน้าที่ในการเป็นส่วนประกอบ และเสริมสร้างความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ขบวนการที่แคลเซียมไปเกาะที่กระดูก และเกี่ยวข้องกับการทำงานของ คอลลาเจน อิลาสติน และมิวโคโพลีแซคาไรด์ ซิลิคอนพบในอาหารประเภทเมล็ดข้าว อาการของการขาดซิลิคอน คือ ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว
ประโยชน์ของสารเสริมสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ
แม้แต่การขาดวิตามินและแร่ธาตุบางชนิดเพียงเล็กน้อย ก็อาจก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพได้ ส่วนนี้จะอธิบายถึงสารอาหารบางชนิดที่จำเป็นต่อสุขภาพของคุณในด้านต่างๆ
ดูแลสุขภาพหัวใจ
สาร อาหารต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อหัวใจ ได้แก่ วิตามินบี6 บี12 และกรดโฟลิก จากงานศึกษาวิจัยหลายชิ้น พบว่าสารอาหารและวิตามินเหล่านี้ สามารถช่วยลดระดับโฮโมซิสเตอีนในเลือดได้ จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โฮโมซิสเตอีนเป็นกรดอะมิโนที่สามารถทำให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือด บทความในปี ค.ศ.2002 ที่เผยแพร่ในวารสาร Journal of the American Medical Association ระบุว่ากรดโฟลิกสามารถลดระดับโฮโมซิสเตอีนได้ถึง 25 เปอร์เซ็นต์
เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
ระบบ ภูมิคุ้มกันของคุณทำงานตลอดเวลาเพื่อปกป้องคุณจากแบคทีเรียนับล้าน ไวรัส และพิษต่างๆ ที่รายล้อมรอบตัวคุณ แร่ธาตุที่จำเป็นต่อระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่ ทองแดง แมงกานีส ซีเลเนียม และสังกะสี นอกจากนี้ สารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินซีและวิตามินอี เบต้าแคโรทีน และลูทีน ยังช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันได้อีกด้วย
จากการวิจัยพบว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแบบรวมที่ให้สารอาหารเหล่านี้ครบถ้วนจะเป็นประโยชน์ต่อระบบภูมิคุ้มกันมากที่สุด
เพิ่มพลังงานและความมีชีวิตชีวา
วิตามิน บี หรือเรียกรวมๆ ว่าวิตามินบีรวม มีความสำคัญต่อร่างกายเพื่อใช้ช่วยแปลงไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรตให้เป็นพลังงาน นอกจากนี้ แมกนีเซียมและโปแตสเซียมยังจำเป็นสำหรับกระบวนการทำให้กลูโคสแตกตัวกลายเป็น พลังงาน เมื่อมีระดับแมกนีเซียมต่ำ ร่างกายจะผลิตกรดแลคติคขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเหนื่อยล้า
ธาตุ เหล็กเป็นสารอาหารอีกชนิดหนึ่งที่ช่วยรักษาระดับพลังงาน เซลล์ของร่างกายต้องการออกซิเจนเพื่อผลิตพลังงาน เนื่องจากธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในเฮโมโกลบินซึ่งเป็นสารในเลือด ที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงทุกส่วนของร่างกาย หากขาดธาตุเหล็กก็จะทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้า ทั้งนี้การบริโภควิตามินซี อย่างเพียงพอจะทำให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดียิ่งขึ้น
ผลิตภัณฑ์วิตามินและเกลือแร่รวมที่คิดค้นสูตรมาอย่างดีควรจะให้สารอาหารเหล่านี้ หากอาหารที่คุณรับประทานขาดสารอาหารดังกล่าว
เสริมสร้างสุขภาพผิว
ผิว เป็นอวัยวะที่มีพื้นที่มากที่สุดในร่างกาย กลุ่มวิตามินบี เป็นหัวใจสำคัญในการรักษาสุขภาพผิว เนื่องจากช่วยควบคุมปัญหาต่างๆ เช่น ผิวมัน รอยด่างบนผิวหนังและผิวหนังอักเสบ วิตามินบี1 บี2 และบี6 มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
หากต้องการป้องกันปัญหาผิวแห้งและลอก วิตามินเอ ซี และอี สามารถช่วยได้ สารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้จะช่วยป้องกันเซลล์ผิวหนังไม่ให้ถูกทำลาย โดยอนุมูลอิสระ นอกจากนี้ ยังช่วยปกป้องผิวจากอันตรายของแสงอัลตราไวโอเล็ต
ผิว ของคุณยังจะได้รับประโยชน์จากซีเลเนียม ทองแดง และสังกะสี ซีเลเนียมและทองแดงช่วยลดเซลล์ผิวหนังที่โดนแดดเผาไหม้ สังกะสีช่วยลดความไวของต่อมน้ำมัน
เสริมความแข็งแรงของกระดูก
โดย ปกติแล้ว มวลกระดูกของผู้ใหญ่จะพัฒนาถึงขั้นสูงสุดในช่วงอายุระหว่าง 30 ถึง 35 ปี จากนั้น กระดูกจะเริ่มเสื่อมสภาพความหนาแน่น จากข้อมูลของมูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ (International Osteoporosis Foundation) มีผู้หญิง 1 ใน 3 คนและผู้ชาย 1 ใน 5 คนที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุน
ร่างกายของคุณต้องการแคลเซียมที่ร่างกายนำไป ใช้ได้ในปริมาณ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน นอกเหนือจากการออกกำลังกาย ด้วยวิธีการที่ต้องแบกรับน้ำหนักตัว (เช่น การวิ่ง) เป็นประจำเพื่อเสริมสร้างและรักษากระดูกให้แข็งแรงแล้ว คุณยังต้องการวิตามินดีเพื่อช่วยในการดูดซึมแคลเซียม นอกจากนี้ แมกนีเซียม ทองแดง แมงกานีส และสังกะสี ก็ล้วนมีความสำคัญต่อสุขภาพกระดูก
บำรุงสุขภาพตา
อายุ เป็นตัวแปรที่สำคัญที่สุดที่นำไปสู่ปัญหาสุขภาพตาต่างๆ เช่น การเสื่อมของกล้ามเนื้อตาตามอายุ ต้อกระจกและต้อหิน วิตามินเอ ซี และอี เป็นสารอาหารที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการบำรุงรักษาสุขภาพตา นอกจากนี้สารต้านอนุมูลอิสระอีกสองชนิด ได้แก่ ลูทีนและซีแซนทีน ก็เป็นประโยชน์ด้วย ซีเลเนียมและสังกะสีช่วยดูดซึมสารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้ และยังพบว่าสังกะสีช่วยป้องกันอาการตาบอดกลางคืนและช่วยลดอนุมูลอิสระในร่าง กายอีกด้วย
ต่อต้านความเครียด
ผู้เชี่ยวชาญ เชื่อว่า ความเครียด ความโกรธ และความหดหู่ อาจนำไปสู่ความเจ็บป่วยได้ หากคุณรู้สึกดีกับตัวเองและมองโลกในแง่ดี คุณจะมีแนวโน้มที่จะมีสุขภาพดีและมีความสุข วิตามินบีรวม มีผลโดยตรงต่ออารมณ์และการรับรู้ วิตามินบี 1 ช่วยปรับอารมณ์ให้เป็นสุข ในขณะที่วิตามินบี 6 เป็นสิ่งจำเป็นในการผลิตสารเคมีในสมองบางอย่าง เช่น เซโรโทนินที่ช่วยควบคุมอารมณ์
ช่วยสร้างเม็ดเลือด
เนื่อง จากเลือดไหลเวียนไปทั่วร่างกาย เลือดจึงนำสารอาหารไปยังเซลล์ทั้งหมดและช่วยปกป้องคุณจากการติดเชื้อต่างๆ นอกจากธาตุเหล็กซึ่งจำเป็นต่อการสร้างเฮโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดงแล้ว วิตามินบีรวม และวิตามินอี ยังจำเป็นต่อการเสริมสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงที่สมบูรณ์ วิตามินซี ทำให้หลอดเลือดแข็งแรงและช่วยในการดูดซับธาตุเหล็ก นอกจากนี้ เกล็ดเลือดซึ่งเป็นเซลล์ขนาดเล็กรูปวงรีที่ทำหน้าที่ช่วยหยุดการไหลของเลือด นั้นต้องการแคลเซียม วิตามินเค และโปรตีนที่เรียกว่า ไฟบริโนเจน เพื่อช่วยในการทำงาน
ที่มา : http://www.nutritioninfocus.com/