ส่วนประกอบสำคัญ Centrum Silver
วิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย 29 ชนิด
- Vitamin A , Vitamin C , Vitamin E , Folic Acid ,Vitamin B1 , Vitamin B2 , Niacinamine , Vitamin B6 , Vitamin B12 , Vitamin D , Biotin , Pantothenic acid , Calcium , Phosphorus , Iodine , Iron , Magnesium , Copper , Manganese , Potassium Chloride , Chromium , Molybdenum , Selenium , Selenium , Zinc , Nickel , Tin , Vanadium และ Silicon
ขนาดรับประทาน Centrum Silver
รับประทานวันละ 1 เม็ด พร้อมอาหาร
เซนทรัม คือการรวบรวมส่วนประกอบอันเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ทั้งวิตามินและเกลือแร่ รวมหลายชนิด จาก ”เอ ถึง ซิงค์” คือความหลากหลายที่สมบูรณ์แบบเหมือน กับสายรุ้งของสเปกตรัม อันเป็นสัญลักษณ์สำคัญของผลิตภัณฑ์
“เซนทรัม” แบรนด์ดังจากสหรัฐอเมริกา พิสูจน์ได้ด้วยระยะเวลากว่า 30 ปี ที่ได้รับการยอม รับตั้งแต่เข้ามาจัดจำหน่ายในประเทศไทย และการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องทำให้ “เซนทรัม” มีผลิต ภัณฑ์ที่เหมาะกับความต้องการของคนไทยอย่างแท้จริง
“เพื่อสุขภาพที่ดีและทำให้ทุกวันของคุณเป็นวันที่สมบูรณ์ตลอดไป”
เพราะแต่ละช่วงชีวิตร่างกายของเรามีสภาพที่ต่างกัน ความต้องการวิตามินและเกลือแร่รวม จึงมีความแตกต่างกันด้วย “เซนทรัม” ได้คิดค้นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมต่อคนทุกวัย และนี่คือ 3 เหตุผลหลัก ที่จะทำให้คุณเข้าใจว่า ทำไม “เซนทรัม” ถึงเป็นผลิตภัณฑ์ชั้นนำที่ครองใจคนไทยมานาน
- เซนทรัม เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณวิตามินและเกลือแร่รวมสูงสุดในท้องตลาด
- มียอดขายเป็นอันดับ 1 ในประเทศไทยและอีกหลายประเทศ
- เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายใน 80 ประเทศทั่วโลก จึงทำให้มั่นใจได้ว่า “เซนทรัม”
เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานสูงได้รับการยอมรับในวงกว้าง
ระวังผู้สูงอายุขาดสารอาหาร
ปัจจุบันประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นมาก ประกอบกับวิถีชีวิตของคนในสังคมก็ดำเนินไปอย่างเร่งรีบ แก่งแย่งแข่งขันกันมากขึ้น นอกจากนี้ในแต่ละวันก็ยังมีกิจกรรมให้ทำมากมาย เป็นเหตุ ให้ผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้านถูกละเลย และไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่เท่าที่ควร จึงส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเหล่านั้นได้ โดยหนึ่งในปัญหาที่พบบ่อยคือปัญหาเรื่องการ ขาดสารอาหารในผู้สูงอายุ เนื่องจากได้รับสารอาหารที่ไม่เหมาะสมหรือไม่มีประโยชน์
นานาสาเหตุ
นอกจากการขาดความใส่ใจของลูกหลานผู้ดูแลแล้ว สาเหตุหลักของการขาดสารอาหารและวิตามินที่จำเป็นในผู้สูงอายุ ก็มักเนื่องมาจากการทำงานของกระเพาะอาหารที่ลดลงทำให้ ไมีกรดหลั่ง ออกมาเพื่อย่อยอาหารช้าลง การดูดซึมสารอาหารและวิตามินที่จำเป็นที่ร่างกายจึงลดลงไปด้วย นอกจากนี้ผู้สูงอายุโดยเฉพาะคนที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป มักจะมีกิจกรรมใน แต่ละวันน้อยลง ทำให้ไม่ต้องรับประทานอาหารมากเท่ากับช่วงที่อายุยังน้อย จึงทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารและวิตามินน้อยตามไปด้วย
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่อาจทำให้ผู้สูงอายุมีภาวะการขาดสารอาหารและวิตามิน ได้แก่
- การทำงานของระบบประสาทสัมผัสเริ่มเสื่อมลง ทำให้การดมกลิ่นและรับรสอาหารได้น้อยลง จึงไม่อยากรับประทานอาหาร
- ยาบางชนิดมีผลข้างเคียงทำให้เบื่ออาหาร คลื่นไส้ หรือมีการรับรสที่ผิดไปจากเดิม
- ปัญหาสุขภาพในช่องปากและฟัน เช่น ฟันหัก ฟันผุ หรือมีแผลในปากทำให้เคี้ยวอาหารลำบาก
- ปัญหาด้านการเงิน ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการเลือกซื้ออาหารมารับประทาน
- ปัญหาเรื่องการเดินทาง เช่น บ้านอยู่ห่างไกลตลาดหรือซูเปอร์มาร์เก็ต ทำให้เดินทางไปซื้ออาหารลำบาก
- ปัญหาสุขภาพร่างกาย เช่น ข้ออักเสบ ปวดกล้ามเนื้อ ทำให้ไม่สามารถทำอาหารทานเองได้
- ปัญหาเรื่องความจำ เช่น เป็นโรคหลงลืม หรือโรคอัลไซเมอร์
- มีอาการป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ทำให้ไม่อยากรับประทานอาหาร หรือเบื่ออาหาร
วิธีทำให้เจริญอาหาร
อย่างไรก็ดีผลกระทบจากการขาดสารอาหารในผู้สูงอายุ อาจจะไม่ได้แสดงอาการออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน แต่ร่างกายจะค่อยๆ อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง สมาธิและความจำแย่ลง มีภูมิต้านทาน เชื้อโรคน้อยลง คนใกล้ชิดจึงต้องระวังและพยายามช่วยให้ผู้สุงอายุรับประทานอาหารได้มากขึ้น ด้วยวิธีต่อไปนี้
- การจัดเตรียมอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารครบถ้วน เช่น ถั่วโปรตีนสูง ธัญพืช ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม ผักและผลไม้ที่สดสะอาด
- การกระตุ้นความอยากอาหารด้วยกลิ่นและรสชาติของอาหาร
- การชักชวนให้เข้าสังคม การรับประทานอาหารร่วมกับเพื่อนและครอบครัว ทำให้เพลิดเพลินสนุกสนาน และอยากรับประทานอาหารมากขึ้นเพราะผู้สูงอายุที่อาศัยโดดเดี่ยว หรือมีอาการซึมเศร้าส่วนใหญ่มักไม่ค่อยใส่ใจตัวเอง ไม่อยากเข้าครัวทำอาหาร หรือมีอาการเบื่ออาหาร
- การดูแลสุขภาพปากและฟัน ถ้าเริ่มมีอาการปวดฟัน ฟันผุ ต้องรีบไปพบทันตแพทย์
- ค้นหาวิธีอื่นในการดูแลผู้สูงอายุให้ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์และเพียงพอ เช่น การสั่งอาหารเดลิเวอรี่จากร้านต่างๆ มาให้หรือการจ้างคนอื่นมาดูแลและเตรียมอาหาร ให้รับประทานใน แต่ละมื้อ
“การขาดสารอาหารและวิตามินที่จำเป็นในผู้สูงอายุมักเนื่องมาจากการทำงานของกระเพาะอาหารที่ลดลง
ทำให้มีกรดหลั่งออกมาเพื่อย่อยอาหารช้าลง การดูดซึมสารอาหารและวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายจึงลดลงไปด้วย”
วิตามินที่ต้องระวัง
การรับประทานอาหารอย่างไม่เหมาะสมและวิถีชีวิตบางอย่างอาจทำให้ผู้สูงอายุได้รับวิตามินและแร่ธาตุบางอย่างไม่เพียงพอหรือสูงเกินไป ดังต่อไปนี้
- วิตามินซี ผู้สูงอายุมักจะขาดวิตามินซีจากการไม่ได้รับประทานอาหารผักและผลไม้ที่สดใหม่ หรือวิตามินได้สูญเสียไปในระหว่างการทำอาหาร วิตามินซีช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นโดยเฉพาะ แผลกดทับ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย
- วิตามินดี ในช่วงอายุ 51-70 ปี คนเราจะต้องการวิตามินวันละ 10 ไมโครกรัม ถ้าอายุมากกว่า 70 ปีจะต้องการวันละ 15 ไมโครกรัม แต่คนสูงอายุส่วนใหญ่มักไม่ค่อยออกจากบ้าน หรือต้องเดินทางไปไหนบ่อยๆ ผิวหนังจึงได้รับแสงแดดน้อยลง ทำให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดีได้ลดลง จึงส่งผลให้เกิดภาวะการขาดวิตามินดีได้ ซึ่งหน้าที่ที่สำคัญของวิตามินดีคือ ช่วยรักษาระดับของแคลเซียมในเลือด ทำให้ป้องกันภาวะกระดูกพรุนได้ นอกจากการรับแสงแดดแล้ว ผู้สูงอายุอาจจะบริโภคอาหารบางอย่างที่มีวิตามินดีสูง ได้แก่ น้ำมันตับปลา ไขมัน นม เนย ตับสัตว์ ปลาทู ไข่แดง ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน และปลาแมคเคอร์เรล
- วิตามินบี 12 คนสูงอายุส่วนมากมักขาดวิตามินบี 12 ซึ่งส่งผลให้ระบบประสาทและสมองเกิดความผิดปกติในการทำงาน เช่น เกิดอาการหลงลืม ความจำเสื่อม ดังนั้นคนสูงอายุจึง ควรได้รับวิตามินบี 12 วันละ 2.4 ไมโครกรัม โดยอาหารที่มีวิตามินบี 12 พบมากในตับ ไต รองลงมา ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่แดง และอาหารหมักดอง เช่น กะปิ น้ำปลา เต้าเจี้ยว
- วิตามินเอ ทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคมากขึ้น ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ เช่น โรคหวัด โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ นอกจากนี้ยังช่วยบำรุงให้เส้นผม และผิวหนังมี สุขภาพดี แต่ความจริงแล้วคนสูงอายุมักมีภาวะวิตามินเอเกินปกติ เนื่องจากความสามารถในการดูดซึมวิตามินเอในผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้น ขณะที่ความสามารถในการขับออกมีลดลง วิตามินเอในเลือดจึงสูงขึ้น และมีเก็บไว้ที่ตับมากขึ้น จึงเสี่ยงต่อการเกิดพิษต่างๆ เช่น ตับถูกทำลาย ผมร่วง ผิวหนังแห้ง คลื่นไส้ หงุดหงิด มองภาพไม่ชัดและร่างกายอ่อนแรง จึงต้องระมัดระวังการได้รับวิตามิน เอมากเกินไป
- วิตามินเค ผู้สูงอายุมีความต้องการวิตามินเคไม่แตกต่างจากวัยหนุ่มสาวมากนัก แต่ผู้สูงอายุจะต้องระวังว่าอาจเกิดการ ขาดวิตามินเคได้หากได้รับยาปฎิชีวนะอยู่เป็นประจำ เนื่องจาก ยาปฎิชีวนะจะไปฆ่าเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ที่สร้างวิตามินเค นอกจากนี้การได้รับยาบางชนิด เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดวอร์ฟาริน ซึ่งมีฤทธิ์ต้านวิตามินเค การขาดวิตามินก็จะ ทำให้มีเลือดออกได้ง่าย อย่างไรก็ดีผลกระทบจากการขาดสารอาหารในผู้สูงอายุอาจจะไม่แสดงอาการออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน แต่ร่างกายจะเริ่มรูสึกอ่อนเพลียไม่มีเรี่ยวแรง สมาธิและ ความจำแย่ลงและมีภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคน้อยลง ดังนั้นลูกหลานจึงต้องดูแลผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด