GEN-DM MF VANILLA เจ็น-ดีเอ็ม อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน กลิ่นวานิลลา 2.5 กิโลกรัม

https://punsuk.com/2868-7582-thickbox_default/gen-dm-mf-vanilla-25-.jpg ดูรูปขนาดจริง

GEN-DM MF VANILLA เจ็น-ดีเอ็ม อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน กลิ่นวานิลลา 2.5 กิโลกรัม

ให้พลังงานและสารอาหารต่าง ๆ ครบถ้วน ไม่เติมน้ำตาลทราย ไม่มีแลคโตส มีคาร์นิทีน ซึ่งจำเป็นต่อการเผาผลาญไขมันให้เกิดพลังงาน ใช้ดื่มหรือให้ทางสายให้อาหาร เหมาะสำหรับ - คนปกติ - ผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด - ผู้ป่วยที่ต้องการอาหารทางสายให้อาหาร - ผู้ที่เป็นเบาหวาน - ผู้ที่มีระดับโคเลสเตอรอลสูงในเลือด ข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร: มีเคซีน (โปรตีนจากนม) และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง

รายละเอียดเพิ่มเติม

ราคาปันสุข 1,550 บาท

ราคาลดลง!

ประหยัด

-375 บาท

ราคาร้านขายยา 1,925 บาท


หยิบใส่ตะกร้า

GEN-DM MF VANILLA เจ็น-ดีเอ็ม อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน กลิ่นวานิลลา 2.5 กิโลกรัม

GEN-DM VANILLA เจ็น-ดีเอ็ม อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน กลิ่นวานิลลา 2.5 กิโลกรัม

GEN-DM MF VANILLA เจ็น-ดีเอ็ม อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน กลิ่นวานิลลา 2.5 กิโลกรัม

GEN-DM VANILLA เจ็น-ดีเอ็ม อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน กลิ่นวานิลลา 2,500 กรัม 

 

เจ็น-ดีเอ็ม

เจ็น-ดีเอ็ม (GEN-DM) อาหารทางการแพทย์กลิ่นวานิลลา เหมาะสำหรับ - คนปกติ - ผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด - ผู้ป่วยที่ต้องการอาหารทางสายให้อาหาร - ผู้ที่เป็นเบาหวาน - ผู้ที่มีระดับโคเลสเตอรอลสูงในเลือด ข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร: มีเคซีน (โปรตีนจากนม) และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง

วิธีการใช้

วิธีผสมดื่ม

ใช้ผง เจ็น-ดีเอ็ม 5 ช้อนตวง (40 กรัม) เติมน้ำอุ่นครึ่งแก้ว (120 มล.) คนให้เข้ากัน เติมน้ำให้ครบ (200 มล.) คนให้เข้ากันจะได้พลังงาน 180 กิโลแคลอรี่

วิธีผสมสำหรับให้ทางสายให้อาหาร

ในการเตรียมที่ความเข้มข้น 1 กิโลแคลอรี่ /มล. ใช้ผง เจ็น-ดีเอ็ม 222 กรัม ผสมกับน้ำให้ครบ 1000 มล. (1ช้อนตวง = 8 กรัม) (ออสโมลาริตี้ 350 mOsm/L)

  • สำหรับคนปกติ
  • ผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  • ผู้ป่วยที่ต้องการอาหารทางสายให้อาหาร
  • ผู้ที่เป็นเบาหวาน
  • ผู้ที่มีระดับโคเลสเตอรอลสูงในเลือด

ข้อควรระวัง

  1. เมื่อมีความจำเป็นต้องเตรียม เจ็น-ดีเอ็ม ในคราวเดียวกันหลายๆมื้อต้องเก็บไว้ในตู้เย็นและใช้ให้หมดภายใน 24 ชั่วโมง
  2. เมื่อตั้งทิ้งไว้ระยะหนึ่งอาจเกิดการแยกชั้นได้ ก่อนนำมาใช้ควรเขย่าหรือคนให้เป็นเนื้อเดียวกันก่อน
  3. ใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์
  4. ผู้เป็นเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคไต ให้ปรึกษาแพทย์

การเก็บรักษา

ปิดฝาให้แน่นหลังจากเปิดใช้ทุกครั้ง เก็บไว้ในที่แห้งและเย็น ควรใช้หมดภายใน1 เดือน

ให้สารอาหารดังต่อไปนี้

สารอาหาร

ต่อ 100

กิโลแคลอรี

ต่อผง

40 กรัม

ปริมาณสารอาหารใน 40 กรัมเปรียบเทียบเป็น%

กับ WHO RNI*

ปริมาณสารอาหารใน 40 กรัมเปรียบเทียบเป็น%

กับ THAI RDI***

 พลังงาน, กิโลแคลอรี

100.00

180.62

**

9.03

 โปรตีน, กรัม

4.26

7.70

**

15.40

 คาร์โบไฮเดรต, กรัม

13.11

23.68

**

7.89

 ไขมัน, กรัม

3.39

6.12

**

9.42

 ใยอาหาร, กรัม

1.61

2.90

**

11.60

 วิตามินเอ, หน่วยสากล

306.28

553.20

28-33

20.77

 วิตามินดี, หน่วยสากล

24.80

44.80

7-22

22.40

 วิตามินอี, หน่วยสากล

8.86

16.00

107-142

107.38

 วิตามินซี, มิลลิกรัม

10.97

19.82

44

33.03

 วิตามินบี 1, มิลลิกรัม

0.28

0.51

43-46

34.00

 วิตามินบี 2, มิลลิกรัม

0.24

0.44

34-40

25.88

 วิตามินบี 6, มิลลิกรัม

0.28

0.50

29-38

25.00

 วิตามินบี 12, ไมโครกรัม

1.77

3.20

133

160.00

 กรดแพนโทธินิก, มิลลิกรัม

1.12

2.03

41

33.83

 ไนอะซิน, มิลลิกรัม

2.87

5.18

32-37

25.90

 กรดโฟลิก, มิลลิกรัม

0.06

0.11

46

91.67

 ไบโอติน, มิลลิกรัม

0.04

0.08

267

53.33

 วิตามินเค 1, ไมโครกรัม

23.03

41.60

64-76

52.00

 โคลีน, มิลลิกรัม

33.00

59.60

**

****

 แคลเซียม, มิลลิกรัม

53.81

97.20

7-10

12.15

 ฟอสฟอรัส, มิลลิกรัม

40.75

73.60

**

9.20

 แมกนีเซียม, มิลลิกรัม

21.11

38.12

15-20

10.89

 โซเดียม, มิลลิกรัม

66.22

119.60

**

5.98

 โพแทสเซียม, มิลลิกรัม

140.41

253.60

**

7.25

 คลอไรด์, มิลลิกรัม

102.98

186.00

**

5.47

 เหล็ก, มิลลิกรัม

1.78

3.22

11-28

21.47

 สังกะสี, มิลลิกรัม

0.74

1.33

19-27

8.87

 ทองแดง, มิลลิกรัม

0.11

0.19

**

9.50

 แมงกานีส, มิลลิกรัม

0.23

0.42

**

12.00

 ไอโอดีน, ไมโครกรัม

11.17

20.18

13

13.45

 คาร์นิทีน, มิลลิกรัม

13.95

25.20

**

****

 โครเมียม, ไมโครกรัม

6.51

11.76

**

9.05

 ซีลีเนียม, ไมโครกรัม

3.50

6.32

19-25

9.03

 โมลิบดินัม, ไมโครกรัม

7.86

14.20

**

8.88

(*)       WHO RNI คือสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันตามข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก
(**)     WHO RNI มิได้กำหนดไว้
(***)   THAI RDI คือสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป
(****) THAI RDI มิได้กำหนดไว้ 

 

ส่วนประกอบที่สำคัญโดยประมาณ

(% โดยน้ำหนัก)

 มอลโทเดกซ์ทริน

33.95 %

 น้ำมันถั่วเหลือง

15.30 %

 โซเดียมเคซีเนท

10.70 %

 โปรตีนจากถั่วเหลือง

(Soy Protein Isolate)

10.70 %

มอลทิทอล

9.00 %

 ฟรุกโตส

9.00 %

 ฟรุคโตโอลิโกแซคคาไรด์

6.25 %

 เกลือแร่รวม

2.06 %

เส้นใยข้าวโอ๊ต

1.00 %

 วิตามินรวม

0.19 %

 คาร์นิทีน

0.06 %

 

**ข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร: มีเคซีน (โปรตีนจากนม) และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง**

 

วิธีผสมดื่ม

ใช้ผงเจ็น-ดีเอ็ม เอ็มเอฟ 5 ช้อนตวง (40 กรัม) เติมน้ำครึ่งแก้ว (100 มล.) คนให้เข้ากัน เติมน้ำให้ครบ (180 มล.) และคนให้เข้ากันจะได้พลังงาน 180 กิโลแคลอรี

5 ช้อนตวง + 100 มิลลิลิตร = 180 มิลลิลิตร

วิธีผสมสำหรับให้ทางสายให้อาหาร

ในการเตรียมที่ความเข้มข้น 1 กิโลแคลอรี /มล. ใช้ผงเจ็น-ดีเอ็ม เอ็มเอฟ 221.46 กรัม (28 ช้อนตวง) ผสมน้ำให้ครบ 1000 มล. (1ช้อนตวง = 8 กรัม) (ออสโมลาริตี้ 380 mOsm/L)

ข้อแนะนำการใช้

1.เมื่อมีความจำเป็นต้องเตรียม เจ็น-ดีเอ็ม เอ็มเอฟ ในคราวเดียวกันหลายๆมื้อต้องเก็บไว้ในตู้เย็นและใช้ให้หมดภายใน 24 ชั่วโมง
2.เมื่อตั้งทิ้งไว้ระยะหนึ่งอาจเกิดการแยกชั้นได้ ก่อนนำมาใช้ควรเขย่าหรือคนให้เป็นเนื้อเดียวกันก่อน
3.ใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ 

การเก็บรักษา

ปิดถุงให้แน่นหลังจากเปิดใช้ทุกครั้ง เก็บไว้ในที่แห้งและเย็น ควรใช้หมดภายใน 1 เดือน

อาหารทางการแพทย์ต้องใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์

คำถามผลิตภัณฑ์

เจ็น-ดีเอ็ม เหมาะกับใครบ้าง?

• คนปกติทั่วไป
• ผู้ที่เป็นเบาหวาน
• ผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
• ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
• ผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยาง

เจ็น-ดีเอ็ม ช่วยควบคุมเบาหวานได้อย่างไร?

• ใช้น้ำตาลฟรุ๊กโตสเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเป็นน้ำตาลที่ใช้อินซูลินปริมาณน้อยมากในการนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ และ กระตุ้นการนำกลูโคสเปลี่ยนเป็นไกลโคเจนเก็บไว้ที่ตับ ไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างรวดเร็ว
• มีฟรุ๊กโตโอลิโกแซคคาไรด์ (FOS) เป็นใยอาหารที่ละลายน้ำได้ ช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหารให้มีการเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูงขึ้นเร็วจนเกินไป และอยู่ในกระแสเลือดนานขึ้น ช่วยให้อิ่มนานมากขึ้น

ผู้ป่วยเบาหวาน ไขมันเลือดสูง และควบคุมน้ำหนัก จะดื่ม เจ็น-ดีเอ็ม ต้องดื่มอย่างไร?

• ในกรณีที่ได้ผลดีที่สุดคือดื่ม เจ็น-ดีเอ็ม 1 แก้วทดแทนมื้ออาหาร ช่วยควบคุมทั้งระดับน้ำตาลในเลือดและลดระดับไขมันรวมทั้งสามารถควบคุมน้ำหนักตัวได้เป็นอย่างดี
• หากไม่สามารถใช้ทดแทนมื้ออาหาร แนะนำให้ดื่ม เจ็น-ดีเอ็ม 1 แก้วก่อนรับประทานอาหารประมาณ 15-20 นาที แล้วให้ลดปริมาณอาหารกลุ่ม ข้าว แป้ง และผลไม้ลงครึ่งหนึ่ง

วิธีการชง เจ็น-ดีเอ็ม?

1. สำหรับการให้อาหารทางสายยาง เจ็น-ดีเอ็ม 222 กรัม และปรับปริมาตรให้ ครบ 1,000 มิลลิลิตร
• ให้พลังงาน 1,000 กิโลแคลอรี่
• มีความเข้มข้น 1 กิโลแคลอรี่ /มิลลิลิตร
2. สำหรับชงทานทั่วไป
GEN-DM 5 ช้อนตวง (40 กรัม) ปรับปริมาตรให้ได้ 180-200 มิลลิลิตร จะได้พลังงาน 180 กิโลแคลอรี่ต่อ 1 แก้ว
3. ชงในน้ำเย็นหรือน้ำธรรมดา

ผลิตภัณฑ์มีแบบไหนบ้าง อายุผลิตภัณฑ์กี่ปี?

ผลิตภัณฑ์อยู่ในรูปแบบผงบรรจุภัณฑ์มี 3 แบบ ดังนี้
• แบบกระป๋อง ขนาด 400 กรัม
• แบบซอง ขนาดพกพา 40 กรัมต่อ 1ซอง 1 กล่อง มี 6 ซอง
• แบบถุง2.5 กก.
ผลิตภัณฑ์มีอายุ 2 ปี

เป็นโรคไตได้รับการฟอกไตสามารถดื่ม เจ็น-ดีเอ็ม ได้หรือไม่?

สามารถทานได้ เนื่องจาก ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกไต มีการสูญเสียสารอาหารไปในช่วงฟอกไต และ เจ็น-ดีเอ็ม มีปริมาณของโซเดียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียมไม่สูงจนเกินไป จึงสามารถดื่มได้ โดยเสริมวันละ 1 แก้ว/วัน

คุณแม่ตั้งครรภ์ และให้นมบุตรสามารถดื่ม เจ็น-ดีเอ็ม ได้หรือไม่?

ดื่มได้ เนื่องจาก เจ็น-ดีเอ็ม มีสารอาหารครบถ้วน และยังมีสารอาหารที่ช่วยเรื่องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และระดับไขมันในเลือด ซึ่งในคุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 2 อาจเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ได้ โดยคุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับสารอาหารอื่นเพิ่มเติมที่เหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์ด้วย

สารอาหารใน เจ็น-ดีเอ็ม?

1.คาร์โบไฮเดรต ประกอบด้วย
• เด็กซ์ตริน(dextrin)/ฟรุกโตส(แทนซูโครส)/ โพลีเด็กซ์โตรส /FOSในสัดส่วน 70%: 15% :8%; 7% ของปริมาณคาร์โบไฮเดรต
• โพลีเด็กซ์โตรส เป็นเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำได้มีประโยชน์ในการช่วยให้การดูดซึมกลูโคสช้าลง ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
• FOS ช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือดได้ไม่ว่าจะเป็น LDL /Triglyceride
2.โปรตีน ประกอบด้วยเคซีน และโปรตีนจากถั่วเหลืองในอัตราส่วน 50% : 50%โดยโปรตีนจากถั่วเหลือง
3. ไขมัน ประกอบด้วย น้ำมันถั่วเหลือง100% มีปริมาณของกรดไลโนเลอิก มีปริมาณ15% ของพลังงาน มีกรดอัลฟาไลไลโนเลนิกซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นสำหรับร่างกาย
4. มีคาร์นิทีน เป็นสารอาหารสำคัญในการนำเอา Long Chain Triglyceride ไปเผาผลาญเป็นพลังงาน และมีส่วนเกี่ยวข้องกับเมตาบอลิซึมbranch chain amino acid และกลูโคส
5. มีโครเมียม เป็น Trace Element มีส่วนช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

ทาน เจ็น-ดีเอ็ม แล้วเกิดอาการท้องเสีย จะต้องทำอย่างไร?

กรณีทานปกติ แนะนำให้ชงจางเพื่อลด ความเข้มข้น โดยเริ่มจาก 4 ช้อน ต่อน้ำ 250 มิลลิลิตร เมื่อดีขึ้นค่อยเพิ่มขึ้นทีละช้อน
กรณีให้อาหารทางสายยาง ให้ลดความเข้มข้นของอาหารเป็น เป็น 0.5 กิโลแคลอรี่ /1 มิลลิลิตร และควรมีการปรับอัตรากาลไหลให้ช้าลง

ข้อห้ามใช้ เจ็น-ดีเอ็ม?

1.ผู้ที่แพ้ส่วนประอบของ เจ็น-ดีเอ็ม เช่น นมวัว , ถั่วเหลือง หรือส่วนประกอบของของผลิตภัณฑ์
2.ผุ้ที่มีภวะทางเดินอาหารอุดตัน
3.ผู้ป่วยที่มีปัญหาดูดซึมอาหารไม่ได้อย่างรุนแรง

 

ตารางการผสมผลิตภัณฑ์

 

0.5 กิโลแคลอรี/มิลลิลิตร

1 กิโลแคลอรี/มิลลิลิตร

น้ำหนักผง

ปริมาณผง

ผสมน้ำให้ได้

ได้พลังงาน

น้ำหนักผง

ปริมาณผง

ผสมน้ำให้ได้

ได้พลังงาน

(กรัม)

(ช้อน)

(มิลลิลิตร)

(กิโลแคลอรี)

(กรัม)

(ช้อน)

(มิลลิลิตร)

(กิโลแคลอรี)

11.1

1.4

100

50

22.2

2.8

100

100

22.2

2.8

200

100

44.4

5.6

200

200

27.8

3.5

250

125

55.6

6.9

250

250

33.3

4.2

300

150

66.7

8.3

300

300

38.9

4.9

350

175

77.8

9.7

350

350

44.4

5.6

400

200

88.9

11.1

400

400

55.6

6.9

500

250

111.1

13.8

500

500

111.1

13.9

1,000

500

222.2

27.8

1,000

1,000

133.3

16.7

1,200

600

266.7

33.3

1,200

1,200

เจ็น-ดีเอ็ม

อาหารสูตรเบาหวานและควบคุมโคเลสเตอรอล 1 ช้อน หนักประมาณ 8 กรัม ให้พลังงานประมาณ 36 กิโลแคลอรี่

 

หลักการให้อาหารทางสายให้อาหาร

 

การให้อาหารทางสายยาง หมายถึง การให้อาหาร (Nutrients) เข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal system) โดยผ่านทางสาย (Tube) ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ทางปาก แต่ระบบทางเดินอาหารยังคงสามารถย่อยและดูดซึมอาหารได้ ( functional GI tract) นั่นหมายถึงการย่อยและการดูดซึมอาหารทำงานได้เป็นปกติดีแต่อาจมีปัญหาอื่นๆ เช่น กลืนลำบาก, กลืนแล้วสำลัก, ร่างกายอ่อนเพลียมาก, รับประทานอาหารไม่ได้ หรือรับประทานอาหารได้ไม่เพียงพอ, ขาดอาหาร, ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว เช่น มีโรคทางสมอง หรือได้รับการผ่าตัดเกี่ยวกับปาก เป็นต้น

 

รูปแบบของการใส่สายให้อาหาร มีดังนี้ 

 

  • Nasogastric tube feeding เป็นการให้อาหารทางสายที่ใส่ผ่านจากรูจมูกถึงกระเพาะอาหาร
  • Orogastric Tube feeding  เป็นการใส่สายให้อาหารเข้าทางปาก ผ่านหลอดอาหารเข้าไปในกระเพาะอาหาร ส่วนมากจะทำในผู้ป่วยเด็กทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อย เพื่อให้นมผสม เนื่องจากเด็กทารกรูจมูกจะเล็กและบางมาก การใส่สายให้อาหารทางรูจมูก อาจทำให้ traumaต่อเยื่อบุจมูกและทำให้เด็กหายใจไม่สะดวก
  • Gastrostomy tube feeding เป็นการให้อาหารทางสายที่เจาะผ่านทางหน้าท้องเข้าไปในกระเพาะอาหาร ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถใส่สายผ่านทางหลอดอาหารได้ เนื่องจากมีการอุดตันของหลอดอาหาร หรือมีการตัดกระเพาะอาหารออกบางส่วน รวมถึงผู้ป่วยที่จำเป็นต้องให้อาหารทางสายเป็นเวลานาน

 

ในผู้ป่วยที่ยังคงต้องให้อาหารผ่านทางสายให้อาหารที่บ้าน ญาติจะต้องเรียนรู้วิธีการเตรียมอาหารเหลวและวิธีการให้อาหารทางสายให้อาหารแก่ผู้ป่วย ตลอดจนการสังเกตอาการของผู้ป่วย ขณะให้อาหารด้วย

 

รูปแบบการให้อาหารทางสายให้อาหาร มีดังนี้

 

  1. Intermittent enteral tube feeding เป็นการให้อาหารทางสายอาหารเป็นครั้งคราววันละ4-6ครั้ง ส่วนใหญ่มักจะให้ตามมื้อของอาหาร เพื่อให้เป็นไปตามแบบแผนการดำเนินชีวิตในการรับประทานอาหารของคนทั่วไป คือ อาหารมื้อเช้า กลางวัน เย็น และในกรณีที่อาหารเหลวมีปริมาณมาก อาจจะแบ่งเป็น 4มื้อ คือมื้อก่อนนอนด้วย ส่วนระหว่างมื้ออาจจะให้น้ำเปล่า เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำเพียงพอ
  2. Continuous enteral tube feeding เป็นการให้อาหารทางสายให้อาหารแบบต่อเนื่อง โดยให้หยดทางสายให้อาหารช้า ๆ ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับอาหารเหลวได้ทีละจำนวนมากๆ เช่น ในรายที่มีปัญหาในการย่อยและดูดซึม วิธีการให้อาหารแบบ continuous feeding จะต้องใช้อุปกรณ์ที่เป็นสายและมี clamp สำหรับปรับอัตราหยด โดยจะต้องควบคุมให้หยดช้าๆ และต่อเนื่องในเวลาที่กำหนด หรืออาจจะควบคุมจำนวนหยดด้วยเครื่อง (Infusion pump)

 

วิธีการให้อาหารทางสายให้อาหาร มีดังนี้

 

  1. เตรียมของเครื่องใช้ในการให้อาหารทางสายยาง อาหารเหลวที่เตรียมให้ผู้ป่วย รวมทั้งยาของผู้ป่วยที่มีให้หลังอาหารให้พร้อม
  2. จัดท่านอนให้ผู้ป่วยศีรษะอยู่สูงอย่างน้อย45องศา ในรายที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวควรให้หนุนหมอน ตั้งแต่หลังจนถึงศีรษะโดยใช้หมอน2ใบใหญ่หรือจัดให้ผู้ป่วยนั่งพิงพนักเตียงหรือให้นั่งเก้าอี้
  3. ผู้ที่จะให้อาหารต้องล้างมือให้สะอาดตามวิธีการล้างมือที่ถูกวิธี
  4. ในผู้ป่วยที่เจาะคอมีท่อหายใจ ให้ดูดเสมหะในหลอดลมคอก่อนเพื่อป้องกันผู้ป่วยไอ จากการมีเสมหะมาก ขณะให้อาหารทางสายให้อาหารเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนปอดอักเสบจากการสำลักอาหาร และล้างมื้ออย่างถูกวิธี
  5. ดึงจุกที่ปิดหัวต่อปลายสายให้อาหารออก ขณะเดียวกันใช้นิ้ว พับสายคีบเอาไว้ เพื่อป้องกันลมเข้ากระเพาะอาหารผู้ป่วย เพราะจะทำให้ผู้ป่วยท้องอืดได้
  6. ใช้สำลีชุบน้ำต้มสุก เช็ดบริเวณจุกให้อาหารทางสายยาง
  7. เอากระบอกให้อาหาร พร้อมลูกสูบต่อกับหัวต่อและปล่อยนิ้วที่คีบสายออก ทำการทดสอบดูว่า ปลายสายยางให้อาหาร ยังอยู่ในกระเพาะอาหารหรือไม่โดย
  8. ใช้กระบอกให้อาหารดูดอาหารหรือน้ำออกจากพระเพาะ ถ้ามีมากเกิด 50ซีซี ให้ดันอาหาร น้ำกลับคืนไปอย่างช้าๆ และเลื่อนเวลาออกไปครั้งละ 1ชั่วโมง แล้วมาทดสอบดูใหม่ ถ้ามีไม่เกิน 50ซีซี ให้ดันอาหารน้ำกลับคืนไปอย่างช้าๆ และให้อาหารได้ ถ้าดูดออกมาแล้ว ไม่มีอาหารตามขึ้นมาเลย ให้ดูดลมเข้ามาในกระบอกอาหาร ประมาณ 20ซีซี แล้วต่อเข้ากับสายให้อาหาร พร้อมกับเอาฝ่ามืออีกด้านหนึ่ง หรือหูแนบเข้ากับใต้ชายโครงด้านซ้าย ดันลมในกระบอกให้เข้าไปในกระเพาะอาหารอย่างช้า ถ้าสายอยู่ในกระเพาะอาหาร จะรู้สึก หรือได้ยินเสียงลมเข้าไปในกระเพาะอาหาร จากนั้นให้ดูดลมออกด้วย อาจจะประมาณ 20ซีซี ถ้าดูดออกมาแล้วได้ของเหลวสีน้ำตาลเข้ม ๆ ควรปรึกษาแพทย์ เพราะผู้ป่วยอาจมีปัญหาแผลในกระเพาะอาหารได้
  9. พับสายยาง ปลดกระบอกให้อาหารออก เอาลูกสูบออกจากกระบอกแล้วต่อกระบอกเข้ากับสายให้อาหารใหม่ หรือถ้าใช้เซตให้อาหารทางสายให้อาหาร ต่อสายเข้ากับ สายให้อาหารได้เลย
  10. เทอาหารใส่กระบอกครั้งละประมาณ50ซีซี ยกกระบอกให้สูงกว่าผู้ป่วยประมาณ 1ฟุต ปล่อยให้อาหารไหลตามสายช้าๆ อย่าให้อาหารไหลเร็ว ถ้าเร็วมากต้องลดกระบอกให้ต่ำลง เพราะการให้อาหารเร็วมากเกินไป จะทำให้ผู้ป่วยคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หรือท้องเดิน
  11. เติมอาหารใส่กระบอกเพิ่มอย่าให้อาหารในกระบอกลดระดับลงจนมีอากาศในสาย เพราะอากาศจะทำให้ผู้ป่วยท้องอืดได้
  12. เมื่ออาหารกระบอกสุดท้ายเกือบหมดให้เติมน้ำและยาหลังอาหารที่เตรียมไว้ เติมน้ำ ตามอีกครั้ง จนยาไม่ติดอยู่ในสายให้อาหาร และไม่ควรมีน้ำเหลือค้างอยู่ในสาย
  13. พับสาย ปลดกระบอกให้อาหารออก เช็ดหัวต่อด้วยสำลีชุบน้ำต้มสุกปิดจุกหัวต่อให้เรียบร้อย
  14. ให้ผู้ป่วยนอนในท่าศีรษะสูงหรือนั่งพัก หลังให้อาหารต่อไปอีกประมาณ 1 ชั่วโมง

 

สิ่งสำคัญคือข้อควรระวังในการดูแลผู้ป่วยใส่สายให้อาหาร  ได้แก่

 

  1. การสำลักหรืออาเจียน จะทำให้ปลายสายให้อาหารเลื่อนออก (tube displacement) มาอยู่ในหลอดอาหาร  (esophagus) หรือเข้าไปในหลอดลม (respiratory tract) ผู้ให้อาหารควรทดสอบปลายสายก่อนให้อาหารทุกครั้ง เพื่อป้องกันการสำลัก ชอาหารเหลวเข้าไปในหลอดลม หรือหลอดอาหาร
  2. การให้อาหารทางสายเร็วเกินไป ทำให้เกิดการหดเกร็งของกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยสำลักอาหารได้
  3. อาการท้องเสีย เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุดังนี้

 

  • ผู้ป่วยที่ไม่มีน้ำย่อยสำหรับย่อยนม ( lactose interance) ถ้าสูตรอาหารเหลวมีนมผสมจะทำให้ผู้ป่วยท้องเสียได้
  • สูตรอาหารที่เข้มข้นมาก ( High osmolarity formula) เป็นสาเหตุให้มีการดึงน้ำออกมาอยู่ในลำไส้มาก และเกิดอาการท้องเสียได้
  • อาหารเหลวที่มีการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย หรือจากการเก็บอาหารเหลวไม่ถูกต้องทำให้อาหารเหลวบูด


เขียนคำนิยม

GEN-DM MF VANILLA เจ็น-ดีเอ็ม อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน กลิ่นวานิลลา 2.5 กิโลกรัม

GEN-DM MF VANILLA เจ็น-ดีเอ็ม อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน กลิ่นวานิลลา 2.5 กิโลกรัม

GEN-DM MF VANILLA เจ็น-ดีเอ็ม อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน กลิ่นวานิลลา 2.5 กิโลกรัม

ให้พลังงานและสารอาหารต่าง ๆ ครบถ้วน ไม่เติมน้ำตาลทราย ไม่มีแลคโตส มีคาร์นิทีน ซึ่งจำเป็นต่อการเผาผลาญไขมันให้เกิดพลังงาน ใช้ดื่มหรือให้ทางสายให้อาหาร เหมาะสำหรับ - คนปกติ - ผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด - ผู้ป่วยที่ต้องการอาหารทางสายให้อาหาร - ผู้ที่เป็นเบาหวาน - ผู้ที่มีระดับโคเลสเตอรอลสูงในเลือด ข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร: มีเคซีน (โปรตีนจากนม) และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง

เขียนคำนิยม

PayPal