ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสนใจการรักษาแบบผสมผสาน หรือการแพทย์ทางเลือก ซึ่งมีหลายวิธีที่นำมาใช้กันอย่างกว้างขวาง หนึ่งในนั้น คือ การใช้สมุนไพรจากธรรมชาติมารักษา จากจารึกในอดีตพบว่า กระเทียม (Allium sativum) จัดเป็นพืชสมุนไพรเก่าแก่ถูกนำมาใช้เป็นยารักษาโรคของชาวจีน อียิปต์ บาบิโลน กรีก และโรมัน มานานกว่าสามพันปี
การค้นคว้าและวิจัยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับสาร สำคัญล้ำค่าของสมุนไพรใกล้ตัวอย่างกระเทียม ของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกว่า 2,500 การทดลอง ทำให้เราทราบว่าธรรมชาติมีการผสมผสานสารสำคัญในกระเทียมไว้อย่างลงตัว อาทิเช่น
o สารประกอบซัลเฟอร์อย่างน้อย 33 ชนิด ซึ่งรวมถึง อัลลิซิน (Allicin) และ
S-allylmercaptocystein
o กรดอะมิโนและไกลโคไซด์กว่า 17 ชนิด
o เอ็นไซม์หลากหลายชนิด
o เกลือแร่ โดยเฉพาะ เซเลเนียม (Selenium)
โดยสารสำคัญเหล่านี้ เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้กระเทียมมีคุณประโยชน์มากมายแก่ร่างกาย เป็นเสมือนยารักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจ โดยช่วยลดระดับไขมันในกระแสเลือด เช่น ลดโคเลสเตอรอลชนิดรวม และ แอล ดี แอล โคเสลเตอรอล จึงเหมาะกับผู้ที่มีระดับไขมันโคเลสเตรอลในเลือดสูง มากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร มีผลในการลดความดันโลหิตสูง ช่วยส่งเสริมให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน โดยกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการสร้างเม็ดเลือดขาวเพิ่มมากขึ้น และกระเทียมยังเปรียบเสมือนยาปฏิชีวนะ ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อต่างๆ โรคมะเร็ง และช่วยต้านสารอนุมูลอิสระในร่างกาย
· กระเทียม......สร้างความสมดุลให้แก่หัวใจ
หัวใจ... เป็นอวัยวะที่ต้องทำงานตลอดชีวิต เพื่อสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย หากหัวใจของคุณมีปัญหาจนนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว เมื่อนั้น ความสมดุลในชีวิตของคุณจะหายไปทันที ดังนั้นจึงควรหาทางป้องกันโรคหัวใจตั้งแต่วันนี้ เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะสารอาหารจากธรรมชาติที่มีส่วนช่วยในการ ดูแลหัวใจ
· การผสมผสานคุณประโยชน์ 3 ประการ ของกระเทียมที่ช่วยสร้างสมดุลให้แก่หัวใจ
ประการที่ 1 ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน เพราะปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจส่วนใหญ่ เนื่องมาจากการสะสมตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งกระเทียมมีส่วนช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในกระแสเลือด โดยไขมันชนิดนี้เป็นสาเหตุหลักของการเกิดการอุดตันของเส้นเลือด จากการวิจัยพบว่าสารประกอบซัลเฟอร์ในกระเทียม โดยเฉพาะอัลลิซิน สามารถลดปริมาณโคเลสเตอรอลรวม และ โคเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL-cholesterol) ได้ดี
สำหรับกรณีผู้ที่มีปัญหาระดับไขมันโคเลสเตอรอลสูงมากกว่า 200 มิลิกรัมต่อเดซิลิตร ควรเสริมด้วยสารสกัดโพลีโคซานอลควบคู่กับกระเทียม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลดระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดให้ดียิ่งขึ้น
แต่กรณีผู้ที่มีปัญหาระดับไขมันโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์สูงทั้งคู่ ควรเสริมด้วยน้ำมันปลา(โอเมก้า-3) ควบคู่กับกระเทียม จะช่วยลดไขมันทั้งโคเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ได้อย่างดี รวมทั้ง
น้ำมันปลายังมีผลในเพิ่มระดับไขมันโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-cholesterol) ที่มีหน้าที่ในการพาไขมันโคเลสเตอรอลที่สะสมอุดตันตามผนังหลอดเลือดกลับไป ทำลายหรือเผาผลาญที่ตับ ดังนั้นหากสามารถเพิ่มระดับไขมันโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-cholesterol) เพียง 1 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้ถึง 3-4%
ประการที่ 2 ลดสภาวะความดันโลหิตสูง โดย สามารถลดความดันโลหิตค่าบน (Systolic Blood Pressure) ได้ 7.7 มิลลิเมตรปรอท และลดความดันโลหิตค่าล่าง (Diastolic Blood Pressure) ได้ 5 มิลลิเมตรปรอท
ประการที่ 3 ลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือดได้ถึง 58% เพราะการมีไขมันสะสมที่หลอดเลือดมากเกินไป จนก้อนไขมันเกิดการแตกตัว จะส่งผลกระตุ้นให้เกิดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด เพื่อมาปิดก้อนไขมันที่แตกออก ทำให้หลอดเลือดเกิดการอุดตัน ส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบบพลัน หรือสมองขาดเลือด จนเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตได้
· กระเทียม......สร้างสมดุล เสริมภูมิต้านทาน ลดภูมิแพ้
มีหลายวิธีที่เราสามารถปฏิบัติเพื่อเพิ่มภูมิต้านทานของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย รับประทานผักและผลไม้ เสริมวิตามิน เช่น วิตามิน ซี ควบคู่กับการเลือกใช้สมุนไพร เช่น กระเทียม เพื่อช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้ เสริมภูมิคุ้มกันได้....เนื่องจาก
1. กระเทียม (Garlic ) มีสารสำคัญ คือ อัลลิซิน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกายโดยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดขาว เช่น Macrophaqes และ T-lymphocyte เพิ่มขึ้น เมื่อร่างกายเรามีเม็ดเลือดขาวเพิ่มมากขึ้น จะส่งผลในการช่วยบรรเทา และลดอาการภูมิแพ้
2. ฤทธิ์ของกระเทียมที่เปรียบเสมือนยาปฏิชีวนะ ที่ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อรา ดังนั้นกระเทียมจึงมีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดการเกิดภูมิแพ้ และอาการเรื้อรังทางระบบทางเดินหายใจ เช่น หวัด หอบหืด ไซนัส หูอักเสบ เป็นต้น
สำหรับกรณีที่เสริมด้วย วิตามินซีควบคู่กับกระเทียม พบว่าจะช่วยบรรเทาและลดความถี่ของโรคภูมิแพ้ เนื่องจากทั้งวิตามินซีและกระเทียมจะเสริมฤทธิ์กันในการกระตุ้นให้เกิดการ สร้างเม็ดเลือดขาวของร่างกาย ส่งเสริมให้ภูมิต้านทานของร่างกายดีขึ้นอย่างชัดเจน
· น้ำมันกระเทียม ทางเลือกใหม่เพื่อสุขภาพ
ปัจจุบัน “น้ำมันกระเทียม” ในรูปแคปซูล กำลังเป็นที่นิยมมากในยุโรปและอเมริกา เพราะเป็นทางเลือกที่สะดวกสำหรับผู้ที่ต้องการได้รับกระเทียมสด แต่มีความกังวลเรื่องกลิ่นของกระเทียมที่อาจทำให้เกิดกลิ่นปาก
· หลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อน้ำมันกระเทียมสกัด
1. ควรเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันกระเทียมสกัดแบบแคปซูลนิ่ม เพราะมีผลในการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดี ออกฤทธิ์เร็วและไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร
2. ควรเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตภายใต้มาตรฐานยาระดับสากล (Pharmaceutical Grade) เพราะสามารถมั่นใจในคุณภาพ และความปลอดภัย ปราศจากผลข้างเคียงและสารเคมีตกค้างที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
3. ควรเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการคัดสรร และมีส่วนผสมของธรรมชาติ ไม่ใช้สีสังเคราะห์ วัตถุปรุงแต่งและวัตถุกันเสีย
· ขนาดรับประทานที่เหมาะสมของน้ำมันกระเทียมสกัด
1. เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย รับประทานวันละ 3 – 8 แคปซูล / วัน
2. ระดับไขมันในเลือดสูง รับประทานวันละ 3 – 8 แคปซูล / วัน
3. ระดับความดันโลหิตสูง รับประทานวันละ 3 – 8 แคปซูล / วัน
เอกสารอ้างอิง
1. Dion M., Agler M. and Milner A. S-allyl cysteine inhibits nitrosomorpholine formation and bioactivation. Nutr Cancer, 1997; 28(1): 1-6.
2. Kemper K. Garlic (Allium sativum). [online] available from http://www.mcp.edu/herbal/default.htm
3. Tattelman E. Health effect of garlic. American Family Physician. 2005, Vol. 72; No. 1. 103-6.
4. AdAM j Adler and Bruce J Holub Effect of garlic and fish oil supplementation on serum lipid and lipoprotein concentrations in hypercholesterolemic men American Journal of Clinical Nutrition Vol. 65 (2) Page 445-50, Feb 1997