แคลเซียมกับการเกิดโรคกระดูกพรุน
วันหนึ่ง คนไทย ต้องได้รับแคลเซียม 800-1,500 มก.แต่ปัจจุบัน คนไทยได้รับแคลเซียมเฉลี่ยเพียง 361 มก.เท่านั้นซึ่งไม่เพียงพอ หากร่างกายเราได้รับ แคลเซียมไม่เพียงพอ ร่างกายจะดึงแคลเซียมที่สะสมในกระดูกมาใช้ เมื่อเกิดขึ้นเป็นประจำ แคลเซียมถูกดึงออกมาใช้มากจนกระทั้งกระดูกพรุน เปราะบางทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง แตกหักได้ง่ายแม้จะได้รับการกระแทกเพียงเล็กน้อย ซึ่งอาการเหล่านี้ เป็นอาการของโรค กระดูกพรุน
ในระยะแรกโรคนี้จะไม่แสดงอาการออกมา จนกระทั่งมีความรุนแรงมากขึ้น จึงแสดงอาการออกมา เช่น ปวดหลังเรื้อรัง หลังค่อมเนื่องจากการยุบตัวของกระดูกสันหลัง หรือกระดูกสะโพกหัก ทำให้เดินไม่ได้เหมือนเดิม และเกิดภาวะแทรกซ้อน อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน
1. ผู้ที่อายุ 30 ปีขึ้นไป พบว่าการสะสมแคลเซียมในกระดูกจะมีค่าเท่ากับศูนย์ นั่นคือ ขบานการสะสมแคลเซียมในกระดูกกับการสลายแคลเซี่ยมออกจากกระดูกมีค่าเท่ากัน พออายุเพิ่มมากขึ้น ความสามารถในการสะสมแคลเซียมในกระดูกจะน้อยกว่าขบวนการสลายแคลเซียมออกจากระดูก ทำให้เนื้อกระดูกบางลง
2. หญิงวัยหมดประจำเดือน ฮอร์โมนเพศที่ลดลง ทำให้ขบวนการสลายแคลเซียม เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ไวขึ้น
3. ผู้ที่ดึ่มกาแฟเป็นประจำ พบว่าการดึ่มกาแฟเป็นประจำจะรบกวนการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย
4. ผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย
5. ผู้ที่ดึ่มสุราเป็นประจำ
6. ผู้ที่สูบบุหรี่
7. ผู้ที่ขาดแคลเซียม หรือวิตามินดี
ปริมาณแคลเซียมที่แนะนำให้คนไทยบริโภคต่อวัน
หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรที่เป็นวัยรุ่น ควรบริโภคแคลเซียมตามปริมาณที่แนะนำในช่วงของวัยรุ่น
แคลเซียมอิสระในรูปแบบที่เหมาะสม
ผลิตภัณฑ์แคลเซียมเสริมในท้องตลาดมักระบุในรูปของสารประกอบแคลเซียม ซึ่งจะให้ แคลเซียมอิสระต่างกัน แคลเซียมคาร์บอเนต เป็นรูปแบบสารประกอบแคลเซียมที่ให้ ปริมาณแคลเซียมอิสระสูงสุด คือ 40 % นั่นคือ หากคุณรับประทาน แคลเซียมคาร์บอเนต 1,500 มิลลิกรัม จะได้ แคลเซียมอิสระ 600 มิลลิกรัมเป็นต้น
วิตามินดี ช่วยการดูดซึมของแคลเซียม
วิตามินดี ช่วยให้ร่างกายดูดซึมของแคลเซียมได้ดีขึ้น เพื่อความมั่นใจว่าร่างกายจะได้รับแคลเซียมได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นผลิตภัณฑ์แคลเซียมเสริมควรมีวิตามินดี ผสมอยู่ด้วย
แคลเซียมเหลว ไม่มีปัญหาเรื่องการละลาย ดูดซึมได้ทันที
แคลเซียม เป็นแร่ธาตุที่มีปัญหาเรื่องการละลาย และมีขีดจำกัดในการดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์แคลเซียมเสริมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการละลาย แคลเซียมเหลวในแคปซูลนิ่ม(Soft Gel) ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ไม่มีปัญหาเรื่องการละลายหลังจากแคปซูลนิ่มแตกตัว แคลเซียมเหลวที่บรรจุภายในก็พร้อมที่จะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ทันที