โคเอ็นไซม์คิวเทน เป็นสารคล้ายวิตามินที่มีบทบาทสำคัญในการเผาผลาญพลังงานของเซลล์ ซึ่งมีส่วนช่วยในการแปลงไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และแอลกอฮอล์ เป็นสาร เอทีพี ATP (adenosine triphosphate) ซึ่งเป็นโมเลกุลที่เก็บพลังงานในรูปพลังงานทางเคมี
เมื่อเซลล์ต้องการพลังงานมันจะแตกโมเลกุลเอทีพี เพื่อปล่อยพลังงานที่อยู่ภายในออกมา กระบวนการทั้งหมดเกิดขึ้นภายในเซลล์ ที่มีโครงสร้างคล้ายรูปถั่วเล็ก ๆ เรียกว่า ไมโทคอนเดรีย (mitochondria)
เซลล์กล้ามเนื้อต้องการพลังงาน ในปริมาณมากเพราะเซลล์กล้ามเนื้อประกอบด้วย ไมโทคอนเดรีย มากกว่าเซลล์ชนิดอื่น ๆ
กล้ามเนื้อหัวใจเป็นเนื้อเยื่อตัวอย่างที่ดีในร่างกายที่มีความหนาแน่นของไมโทคอนเดรีย เนื่องจากหัวใจต้องใช้พลังงานอย่างมหาศาล และนอกจากนี้ โคเอ็นไซม์คิวเทน ยังเป็นสารที่ต้านอนุมูลอิสระได้อีกด้วย
คิวเทน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
ความสามารถของโคเอ็นไซม์คิวเทน ในการจับและแจกจ่ายอิเล็กตรอนทำให้มันเหมาะสำหรับการขจัดอนุมูลอิสระที่เรียกว่า Reactive Oxygen Species - ROS ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจากจากการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย หรือเป็นผลมาจากปัจจัยภายนอกเช่น การได้รับคลื่นกัมมันตภาพรังสีรังสี หรือสารพิษทางเคมี สารที่มีคุณสมบัตินี้จะเรียกว่าสารต้านอนุมูลอิสระ
เมื่อ โคเอ็นไซม์คิวเทนได้รับการสนับสนุนจากสารต้านอนุมูลอิสระอื่นๆ เช่น วิตามินอี วิตามินซี และเอนไซม์ธรรมชาติต่างๆ ก็จะมีอานุภาพป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากสารประกอบออกซิเจนที่เป็นอันตรายได้
คิวเทน ที่ดี
คิวเทน มีอยู่ตามธรรมชาติในอาหารหลายชนิด แหล่งที่ดีที่สุดมี:
- เนื้อวัว
- เนื้อหมู
- ปลาเฮอริง
- น้ำมันถั่วเหลือง
- ปลาซาร์ดีน
การผลิตจากภายในร่างกาย
นอกจากนี้มนุษย์เรามีความสามารถในการสังเคราะห์ โคเอ็นไซม์คิวเทน ได้เอง การผลิตจะเกิดขึ้นภายในเนื้อเยื่อภายในตับ แต่เมื่ออายุที่เพิ่มขึ้น หรือผลของการเกิดโรคทำให้ความสามารถในการผลิต คิวเทน ของเราลดลงได้ ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า ปริมาณ คิวเทน สูงสุดในร่างกายขอเราจะมีในช่วงอายุ 20-25 ปี หลังจากช่วงระยะดังกล่าวการผลิตสารนี้จะเริ่มลดลง
ภาพประกอบนี้แสดงปริมาณค่าเฉลี่ยของ คิวเทน ในอวัยะต่างๆในร่างกายที่ลดลงตามธรรมชาติ ตั้งแต่ช่วงอายุ 20 ถึง 80 ปี
แม้ว่าจะยังไม่มีผลการศึกษาอย่างชัดเจน แต่ คาดกันว่าอาหารที่เรารับประทานอยู่ตามปกติ ให้โคเอ็นไซม์ คิวเทน ระหว่าง 5-20 มก. และร่างกายมี คิวเทน สำรองของตัวเองที่ 1-1.5 กรัม โดยที่สารนี้จะมีอยู่มากสุดในหัวใจ ตับ และไต
คิวเทน และคอเลสเตอรอล
คิวเทน และคอเลสเตอรอลมีเส้นทางการสังเคระห์ทางชีวเคมีร่วมกัน (คอเลสเตอรอลยังสามารถสังเคราะห์ได้ในตับด้วย) มีการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ยาลดคอเลสเตอรอลบางชนิดยับยั้งการผลิตคิวเทน ภายในร่างกาย
ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์
จาก การศึกษางานวิจัย พบว่า การรับประทาน คิวเทน ต่อเนื่องกันเป็นเวลายาวนานไม่ส่งผล กระทบต่อการผลิตสาร คิวเทน ในร่างกาย และผลข้างเคียงมีน้อยมากที่เกี่ยวเนื่องกับการรับประทาน โคเอ็นไซม์คิวเทน ซึ่งทำให้มันเป็นสารที่ปลอดภัย นอกจากนี้จากประสบการณ์การผลิตผลิตภัณฑ์ ไบโอ-ควิโนน คิวเทนมานานมากกว่า 20 ปี สามารถยืนยันถึงความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์
สรุป
มีเหตุผลทางชีวเคมีหลายอย่างที่ส่งเสริมการใช้โคเอ็นไซม์ คิวเทน ได้แก่ :
- คิวเทนมีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย และการเสริมสารนี้แก่ร่างกายแสดงให้เห็นถึงการสร้างพลังงานที่เพิ่มขึ้น
- คิวเทน อาจเป็นสารตัวต้านอนุมูลอิสระที่สามารถละลายได้ในไขมัน(lipid-soluble antioxidant) ที่สำคัญที่สุด ซึ่งอยู่ในเยื่อหุ้มเซลล์ และไลโปโปรตีน (lipoprotein)ในเลือด
- การสังเคราะห์ คิวเทนของร่างกาย จะลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น เริ่มจากในช่วงวัยยี่สิบต้นๆ
- การสังเคราะห์ คิวเทนของร่างกายมีความเชื่อมโยงกับการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลอยู่บ้าง และการใช้ คิวเทน อาจถูกนำมาใช้ร่วมกับยาลดโคเลสเตอรอลบางชนิด